กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการค้นหาผู้ป่วยกลุู่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชนตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไทรทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหาผู้ป่วยกลุู่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชนตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไทรทอง

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาลาลไม้แก่น

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาลาลไม้แก่น

ในชุมชน ม.1 - ม.5 ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูง โดยปี พ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค (incidence) ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลก ภายในปี พ.ศ. 2578 (2035) กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการหลักในการจะบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้อง 1.เร่งรัดการค้นหา วินิจฉัย และรายงานให้มีความครอบคลุมการรักษา (Treatment Coverage) ร้อยละ 90 ของจำนวนผู้ป่วยที่คาดประมาณจากอุบัติการณ์ 2.เร่งรัดการเข้าถึงบริการ ตรวจวินิจฉัยในประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ให้ครอบคลุมร้อยละ 90 3.ดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบทุกรายด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient center care) ให้มีอัตราความสำเร็จการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ด้วยผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ที่สำคัญนี้จะส่งผลให้อุบัติการณ์วัณโรคลดลงอย่างรวดเร็วสู่เป้าหมายยุติวัณโรคได้
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีจึงได้มีนโยบายการดำเนินงานวัณโรคเร่งรัดค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุม โดยการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย โดยประชากรกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายได้รับการคัดกรองเชิงรุกด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ประกอบด้วย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ต้องขังในเรือนจำ แรงงานข้ามชาติ ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีโรคร่วมที่สัมพันธ์กับวัณโรค บุคลากรทางการแพทย์
อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ของอำเภอไม้แก่นที่ผ่านมา ยังน้อยกว่าเป้าหมายวัณโรคคือต้องพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ไม่น้อยกว่า 20 รายต่อปีในขณะที่ตั้งแต่ปี 2564 – 2566ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยเพียง 9 , 10 และ 14 ราย ตามลำดับเท่านั้น ในขณะที่อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ระหว่างปี 2564 – 2566 มีแนวโน้มลดลง คือร้อยละ 88.89 , 90 และ 40 ตามลำดับ ปัญหาที่พบมาโดยตลอดคือ มีผู้เสีชีวิตในระหว่างการรักษาในปี 2564 – 2566 พบอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 0 , 0 และ 6.6 ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย
ดังนั้นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง จึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็ว และได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษา และลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค จึงได้จัดทำโครงการค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชนตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานีปีงบประมาณ 2567 โดยการให้ความรู้ ค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกโดยการเอกซเรย์ทรวงอก อ่านผลฟิล์มด้วย AI โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันตนเองและสังเกตอาการที่เข้าได้กับโรค
เพื่อติดตามควบคุมกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยวัณโรค และส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตามมาตรฐาน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 02/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค กิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบติดตามควบคุมกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค กิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบติดตามควบคุมกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค                ขั้นตอนการเตรียมการ                - ประชุมชี้แจง “โครงการพัฒนาระบบติดตามควบคุมกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยวัณโรคปีงบประมาณ 2567”                  แก่อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่                ขั้นตอนการดำเนินการ                - กำหนดกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงวัณโรคของตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น                - ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนดำเนินการ                - ประสาน อาสาสมัครสาธารณสุข เตรียมกลุ่มเป้าหมาย                - ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ ดังนี้                    จัดกิจกรรมคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง                   แ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับโรควัณโรค                - ประชุมชี้แจงสรุปผลการดำเนินการและเสนอผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องรับทราบ                ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ      กิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบติดตามควบคุมกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยวัณโรค                ขั้นตอนการเตรียมการ                - ประชุมชี้แจง  “โครงการพัฒนาระบบติดตามควบคุมกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยวัณโรคปีงบประมาณ
                 2567 “ แก่ อาสาสมัครสาธรณสุข ในพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง                ขั้นตอนการดำเนินการ                - กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองในพื้นที่มีอาการเข้าได้กับโรควัณโรค                - ประสานกับ อบต.ไทรทอง ในการรับ – ส่งผู้ป่วยทุกรายส่งตัวมาถ่ายภาพรังสีทรวงอก
                 ที่โรงพยาบาลไม้แก่น จำนวน 400 คน                - ส่งฟิล์มไปที่ สสจ.เพื่ออ่านผลในระบบ AI โดยแพทย์ชำนาญการ                - ขึ้นทะเบียน และให้การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทุกราย                - บันทึกข้อมูลการคัดกรองวัณโรคในโปรแกรม TBCM online
               ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 2 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรค
คัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูงได้ร้อยละ 90 ทุกกลุ่มเป้าหมาย และส่งต่อเข้าระบบการรักษา
เพิ่มอัตราการค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 90


>