กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกรณีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านหัวถนน ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกรณีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านหัวถนน ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหัวถนน

นายเลอศักดิ์ จันทร์น้อย

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

45.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

56.28
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

10.30

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ประชากรและความเจริญทางเทคโนโลยี มีผลทำให้สุขภาพประชาชนป่วยหรือตายด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งเป็นเหตุก่อให้เกิดโรคความโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในทะเบียน 3.2 ล้านคนของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาด้านสาธารณสุขอย่างมหาศาล เฉพาะเบาหวานเพียงโรคเดียว ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยสูงกว่า 47,596 ล้านบาทต่อปีและหากรวมทั้ง 3 โรคคือโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ภาครัฐสูญเสียงบประมาณในการรักษาสูงถึง 302,367 ล้านบาทต่อปี โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆในกลุ่มโรค NCDs อีกมากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูงและโรคไต ฯลฯ
ซึ่งในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหัวถนน มีผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (ข้อมูล ณ 30 ก.ย 2566) มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 286 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง127 คนดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงจัดทำโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมและสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว ในการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรค

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 5

5.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้าสู่ระบบการรักษา

กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้าสู่ระบบการรักษาร้อยละ100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,562
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชน โดยการวัดความดัน และเจาะปลายนิ้วโดย อสม.และเจ้าหน้าที่
- ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Instant) พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 16 กล่องๆละ 960 บาท เป็นเงิน 15,360 บาท
- ค่าเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Instant) จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,650 บาท เป็นเงิน 5,300 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มคัดกรอง จำนวน 1,562 ชุด เป็นเงิน 1,562 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานร้อยละ 90
ผลลัพธ์
ประชาชนรับรู้ข้อมูลสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22222.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน


ไมีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ร้อยละ 90
- กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ร้อยละ 100
ผลลัพธ์
- กลุ่มเสียงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกลุ่มปกติได้
- กลุ่มสงสัยป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมาเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วย (ครบ 1 เดือน)
- เจาะ FBS เพื่อติดตามผลน้ำตาลในเลือดกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน
- ติดตามค่าความดันโลหิตกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิต
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง (ครบ 6 เดือน)
- เจาะ FBS เพื่อติดตามผลน้ำตาลในเลือดกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
- ติดตามค่าความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิต ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100
- กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 90
ผลลัพธ์
- กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามครบตามแนวทาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เข้าสู่ระบบการรักษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เข้าสู่ระบบการรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโดยแพทย์ เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานเป็นกลุ่มป่วยได้เข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เผลผลิต
กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นกลุ่มป่วยและเข้าสู่ระบบการรักษาร้อยะละ 100
ผลลัพธ์
กลุ่มป่วยได้รับการรักษาและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,222.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5
อัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 1.75
กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรมกกลับมาอยู่กลุ่มปกติได้ร้อยละ 5


>