กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง และค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน

นายเลอศักดิ์ จันทร์น้อย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ที่ 1 . 2 , 4 , 5 , 6 , 9 , 10 , 11 , 13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมการค้นหาและขึ้นทะเบียนรักษารายใหม่และกลับเป็นซ้ำ

 

50.16
2 ร้อยละความสำเร็จจากการรักษาวัณโรค

 

0.00

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น การดำเนินการเร่งรัด การค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้สูงอายุประวัติสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค และบุคลากรทางการแพทย์ พบว่าอัตราการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ได้เพียง 104 ต่อแสนประชากร ยังน้อยกว่าเกณฑ์ของประเทศ (150 ต่อ แสนประชากร)เป้าหมายร้อยละ 88
สถานการณ์วัณโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนนปีงบประมาณ 2566จำนวน 2 ราย รักษาครบ/หาย 2 รายคิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมายร้อยละ 90 )การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่พบ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.16(เป้าหมายร้อยละ 88 ) ยังไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองยังไม่ครอบคลุมทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ ยังไม่ถูกค้นพบและเชื้อโรคแพร่กระจายไปในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อที่จะลดปัญหาของการเกิดโรควัณโรคและภัยสุขภาพได้
ดังนั้นการค้นหาผุ้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษาและลดปัญหาการดื้อยาวัณโรคเชิงรุกด้วยการตรวจหาเชื้อวัณโรคและเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นกาตัดวงจรการแพร่กระจายและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง

อัตราความครอบคลุมการค้นหาและขึ้นทะเบียนรักษารายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ร้อยละ 90

50.16 90.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOT) โดย จนท.สาธารณสุข

ผู้ป่วยได้รับการติดตาม DOTกำกับการกินยาและเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100

0.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรค

อัตราความสำเร็จการรักษาวัณโรคร้อยละ 88

0.00 88.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 55
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างความเข้าใจและให้ความรู้เรื่องวัณโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความเข้าใจและให้ความรู้เรื่องวัณโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี (รับยาที่ รพ.สต.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างความรอบรู้เรื่องวัณโรค
- ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากรและผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 110 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,750 บาท
- ค่าป้ายโครงการขนาด 1.5ม.x2.0ม. เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าป้ายความรู้ 9 หมู่บ้าน ขนาด 1.5ม.x2.0ม.จำนวน 9 แผ่นๆละ 500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มกราคม 2567 ถึง 26 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 90
ผลลัพธ์
กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตนเพื่อลดการเกิดโรควัณโรคได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรอง เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรอง เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองในกลุ่มเป้าหมาย โดยการเอกซเรย์ปอด เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
- กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและเอกซเรย์ปอดโดยรถโมบายเคลื่อนที่ /เอกซเรย์ที่ รพ.ควนขนุน
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองร้อยละ 90
ผลลัพธ์
- กลุ่มเสี่ยงสงสัยวัณโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อกำกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อกำกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อกำกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
1.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในช่วง 2 เดือนแรกเพื่อกำกับการกินยาและติดตามผล อาการข้างเคียง การดื้อยา
2.ติดตาม DOT เพื่อกำกับการกินยาในระบบ NTIP
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้ป่วยได้รับการติดตาม DOT กำกับการกินยาและเยี่ยมบ้านร้อยละ 100
ผลลัพธ์
อัตราความสำเร็จการรักษาวัณโรคร้อยละ 88

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ความครอบคลุมการค้นหาและขึ้นทะเบียนรักษารายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ร้อยละ 90
2.อัตราความสำเร็จจาการรักษาวัณโรคร้อยละ 88


>