กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของประชาชนจากการสัมผัสสารเคมี ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหัวถนน

1.นางอุไร สงนุ้ย
2.นางปาริชาต อ่อนประเสริฐ
3.นางโสภัคดี ณ พัทลุง
4.นางสาวยุวดี เกื้อรุ่ง
5.นางจำเรียง แก้วมาก

หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวน(คน)ผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

30.00
2 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

10.00

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และประชาชนส่วนใหญ่การรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รับประทานแกงถุงผักผลไม้ ที่ไม่ปลอดภัยทำให้ประชาชนและเกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวงเป็นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่การรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รับประทานแกงถุงผักผลไม้ ที่ไม่ปลอดภัยและประชาชนประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพาราผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่
จากข้อมูลการเข้าร่วมโครงการของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี ในปี 2566 พบว่าปริมาณ
สารเคมีตกค้างในเลือด ปลอดภัยจำนวน69คนมีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ไม่ปลอดภัยจำนวน3คนมีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ระดับเสี่ยงจำนวน18คน จากการเจาะเลือดหาสารเคมีครั้งที่ 1 และได้นำกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ปลอดภัยและระดับเสี่ยง ทำการเจาะเลือดหาสารเคมีครั้งที่ 2 เว้นระยะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มา 1 เดือน พบว่า มีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ปลอดภัยจำนวน10คน( ปลอดภัยเพิ่มขึ้น 47.62 % )มีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ไม่ปลอดภัยจำนวน1คน( ยังมีภาวะเสี่ยง อีก4.76 % )มีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด เสี่ยงจำนวน10คน( ยังมีภาวะเสี่ยง อีก47.62 % )ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่า ประชาชน
ในหมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13ตำบลชะมวง ยังคงมีการสัมผัสสารเคมีและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นชมรมอสม.รพ.สต.บ้านหัวถนน จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของประชาชน ในหมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของประชาชนจากการสัมผัสสารเคมี ปี 2567ขึ้นเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย ( 1 คน)

10.00 5.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย ( 10 คน)

30.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เก็บข้อมูลภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน
    • รับสมัครกลุ่มเป้าหมายในการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 1
    • ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมี
  1. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.50 X 2.00 เมตรจำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 500บาท
  2. ค่าจ้างเหมาเจาะเลือดหาสารเคมี จำนวน 90 คน คนละ 50 บาท เจาะตรวจ ครั้งที่ 1 เป็นเงิน 4,500บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 90 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
  5. ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ได้รับการเจาะเลือดครั้งที่ 1 และเข้าร่วมรับการอบรมความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีจำนวน 90 คน/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมี ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักกินเองในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักกินเองในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีการปลูกผักไว้กินเองที่บ้าน  / ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มีการปลูกผักไว้กินเองที่บ้าน ร้อยละ70 /  ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการปลูกผักกินเองที่บ้าน  ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2 เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง หรือไม่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2 เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง หรือไม่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดตรวจหาระดับปริมาณสารเคมี ครั้งที่2ในประชาชนที่เข้าร่วมโครงการและได้รับการเจาะเลือดตรวจหาระดับปริมาณสารเคมี ครั้งที่ 1 แล้วพบว่า มีความเสี่ยง หรือไม่ปลอดภัย/ ค่าจ้างเหมาเจาะเลือดหาสารเคมีจำนวน 90 คน คนละ 50 บาท (เจาะตรวจ ครั้งที่ 2) เป็นเงิน4,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการเจาะครั้งที่ 1 แล้วพบว่ามีความเสี่ยง หรือไม่ปลอดภัย ได้รับการเจาะเลือดตรวจฯ ครั้งที่ 2 ร้อยละ 100 / ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการเจาะครั้งที่ 1 แล้วพบว่ามีความเสี่ยง หรือไม่ปลอดภัย ได้รับการเจาะเลือดตรวจฯ ครั้งที่ 2 มีระดับความปลอดภัย ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ในการกินผักที่ปลูกไว้กินเอง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ในการกินผักที่ปลูกไว้กินเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทีมผู้จัดการอบรม ร่วมลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ในการกินผักที่ปลูกไว้กินเองที่บ้าน / ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย กินผักที่ปลูกไว้กินเองที่บ้าน/ ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายที่กินผักที่ปลูกเองที่บ้าน ปลอดภัยจากสารเคมี ในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 จ่ายยารางจืดลดสารเคมีในเลือด แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่เจาะเลือดหารสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 แล้วยังมีผลไม่ปลอดภัยหรือผลการตรวจยังมีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จ่ายยารางจืดลดสารเคมีในเลือด แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่เจาะเลือดหารสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 แล้วยังมีผลไม่ปลอดภัยหรือผลการตรวจยังมีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จ่ายยาชงรางจืดลดสารเคมีในเลือด ตามเกณฑ์การกินยาชงรางจืด  (ยาชงรางจืด ครั้งละ 1 ซองชา ชงน้ำอุ่นดื่ม วันละ 3-4 แก้วชา สัปดาห์ละ 5 วัน ต่อเนื่อง 1 เดือน)  แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่เจาะเลือดหารสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 แล้วยังมีผลไม่ปลอดภัยหรือผลการตรวจยังมีความเสี่ยง / ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย ที่เจาะเลือดหารสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 แล้วยังมีผลไม่ปลอดภัยหรือผลการตรวจยังมีความเสี่ยง มารับยาชงรางจืด  / ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย ที่เจาะเลือดหารสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 แล้วยังมีผลไม่ปลอดภัยหรือผลการตรวจยังมีความเสี่ยง ได้กินยาชงรางจืด เป็นเวลา 1 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของประชาชน
2. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการสัมผัสสารเคมีของประชาชน
3. ประชาชนมีความรู่ในการป้องกันการสัมผัสสารเคมี มีทักษะและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคจากสารเคมี


>