กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กลุ่มสมุนไพรบ้านทุ่งยาว หมู่ 11

1. นางพวงทิพย์ กล้าคง
2. นางอารีย์ เรืองพุทธ
3. นางวรรณดี วุ่นชุม
4. นางสาวอรสา เกื้อตุ้ง
5. นางรัชกร เรืองพุทธ

พื้นที่เขตตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ด้านการอบสมุนไพรอยู่ในระดับน้อย

 

80.00

การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) คือ วิถีการดูแลสุขภาพของคนไทยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีไทย มีการใช้สมุนไพรทั้งในรูปแบบอาหาร และยา ใช้ในการอบ การประคบ การนวด การแพทย์แผนไทยมีการวินิจฉัยโรคเป็นแบบความเชื่อแบบไทย มีองค์ความรู้เป็นทฤษฎีโดยพื้นฐานทางพุทธศาสนาผสมกลมกลืนกับความเชื่อทางพิธีกรรม มีการเรียนการสอนและการถ่ายทอดความรู้อย่างกว้างขวางสืบทอดมายาวนานหลายพันปีนับเป็นภูมิปัญญาไทยที่น่าสนใจ (สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2551)
การอบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพตามหลักของการแพทย์แผนไทย ในปัจจุบันการอบไอน้ำสมุนไพรมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งการอบสมุนไพรเพื่อการรักษาโรค หรืออบสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม การอบสมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งในแง่การส่งเสริมสุขภาพ บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้นอนหลับดี ช่วยให้หายใจคล่องขึ้น ช่วยบรรเทาปวดคลายเส้น และทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่ได้เน้นเพื่อรักษาโรค
พื้นที่่บ้านทุ่งยาว หมู่ 11 ตำบลโคกม่วง ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ด้านการอบสมุนไพรอยู่ในระดับน้อย จึงควรส่งเสริมให้ประชาชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพ และควรส่งเสริมให้การอบสมุนไพรเป็นทางเลือกของการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนที่รักสุขภาพ และยังเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมการดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพแบบไทย ๆซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดเรียบง่ายตัวยาหาได้ในท้องถิ่น ดังนั้น กลุ่มสมุนไพรบ้านทุ่งยาว หมู่ 11 จึงได้จัดทำโครงการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ปีงบประมาณ2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพระดับปากกลาง

80.00 80.00
2 เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

มีฐานการเรียนรู้การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพอย่างน้อย 1 ฐาน

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน
2.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการนำสมุนไพรไปใช้ และสาธิตการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 วัน ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน ม.11
- เวลา 09.00-11.30 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการนำสมุนไพรไปใช้และประโยชน์ของการอบสมุนไพร การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (วิทยากร แพทย์แผนไทย รพ.เขาชัยสน)
- เวลา 11.30-12.00 น. ตอบข้อซักถาม

งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน1,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 1.2x 2.4 ม จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท

*พักรัปประทานอาหารว่างเวลา 10.30 - 10.45 และ14.30 - 14.45

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม สาธิตการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน ม.11
-เวลา 13.00-15.00 น. กิจกรรมสาธิตการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (เจ้าหน้าที่กลุ่มสมุนไพร)
-เวลา 15.00-16.00 น. ตอบข้อซักถาม

งบประมาณ
- ค่าสมุนไพรสำหรับสาธิตการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 30 ชุด ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าชุดกระโจมอบสมุนไพร จำนวน 4 ชุด ๆ ละ975 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจัดตั้งฐานการเรียนรู้การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดตั้งฐานการเรียนรู้การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งฐานการเรียนรู้การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 ฐาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
2.ประเมินผลจากการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพโดยประเมินผลจากการตรวจร่างกาย การชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และซักประวัติอาการของของผู้เข้าร่วมโครงการว่าดีขึ้นหรือไม่อย่างไร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ร้อยละ 80
2. มีฐานการเรียนรู้การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ อย่างน้อย 1 ฐาน


>