กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

นางสาวเมริษา ศรีละมุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ม.1, 3, 5, 6, 8, 9,11ต.บ้านนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการประเมิน ตามแบบคัดกรอง 9 ด้าน

 

100.00

จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย และประชาชนมีการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น และจากสังคมปัจจุบันอัตราเกิดน้อยลง มีการคาดการณ์ไว้ว่า ในอีกปีข้างหน้า (พ.ศ.256๘) ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Age Society และจากนั้นอีกเพียง 10 ปีประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” Super-Aged Society ปี พ.ศ.๒๕๖๖ ในระดับประเทศมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ ๒๑.๑ ระดับจังหวัดพัทลุงร้อยละ ๒๒.๖๔ ระดับอำเภอศรีนครินทร์ร้อยละ ๒๑.๖ สำหรับ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน ๙๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๙๔ (จากข้อมูล HDC ณ ๓๐ ก.ย.๖๖) เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย นอกจากสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลงไปมากแล้ว ยังมีเรื่องของสุขภาพจิตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจากอุบัติการณ์ของภาวะเสี่ยงที่พบบ่อยในผู้สูงอายุรวมถึงมีขนาดและความรุนแรงของปัญหาที่พบมาก คือภาวะหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม และตาต้อกระจก การหกล้มทำให้กระดูกหัก เกิดความเจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ ความพิการทุพพลภาพ และความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งต่อครอบครัวและสังคมโดยรวม นอกจากนี้โรคสมองเสื่อมเริ่มพบมากขึ้นและกำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ สังคม และครอบครัว เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและมีจำนวนผู้เป็นโรคมากขึ้นตามค่าอายุเฉลี่ยของประชากร ส่วนตาต้อกระจกเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเช่นกันและการเข้าถึงการบริการยังน้อยอยู่ดังนั้นการที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงหรือป่วยได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสมและตรงประเด็นปัญหา หรือป้องกันความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความพิการที่เหมาะสมที่สุดคือการคัดกรองและประเมินกลุ่มโรคและอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ(Geriatric Sydromes) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและป่วยได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่ตรงปัญหาต่อไป รวมถึงกลุ่มปกติที่คัดแยกเข้าสู่บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับปฐมภูมิ(Primary Prevention) ได้อย่างทันท่วงที
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ)จึงขอเสนอการดำเนินกิจกรรมการจัดบริการคัดกรองความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะหกล้มและตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม., มีองค์ความรู้และทักษะในการคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงผู้สูงอายุ ตามแบบคัดกรอง 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ

อสม. มีองค์ความรู้และทักษะในการคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงผู้สูงอายุ ตามแบบคัดกรอง 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ

0.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ได้รับการประเมินซ้ำ จาก จนท.

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ได้รับการประเมินซ้ำ จาก จนท.

100.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะผิดปกติทางสายตา ความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม และภาวะหกล้ม ได้รับบริการดูแลอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพ ได้รับการส่งต่อไปยังคลินิกผู้สูงอายุ

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 900
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการทำแบบคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการทำแบบคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการทำแบบคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ (เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ)) จัดกิจกรรมแยกเป็นรายหมู่บ้าน
- ค่าจัดทำเอกสารแบบคัดกรอง 9 ด้าน 900 ชุด ชุดละ 4 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท รวมเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.เข้าใจ และสามารถคัดกรองสุขภาพ 9 ด้านใน ผู้สูงอายุได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 2 อสม. ลงประเมินคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อสม. ลงประเมินคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม. ลงประเมินคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ ในพื้นที่หมู่ที่ ๑, ๓, ๕, ๖, ๘, ๙ และ ๑๑ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มิถุนายน 2567 ถึง 16 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 5.วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
5.วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ (จากแบบคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ที่ อสม. ลงประเมิน หากมีปัญหา จนท.ประเมินซ้ำ) -ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2567 ถึง 25 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ รายบุคคล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินคัดกรองสุขภาพ (ซ้ำ) ผู้สูงอายุที่มีปัญหา

ชื่อกิจกรรม
ประเมินคัดกรองสุขภาพ (ซ้ำ) ผู้สูงอายุที่มีปัญหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จนท.สาธารณสุข ลงประเมินคัดกรองสุขภาพ (ซ้ำ) ผู้สูงอายุที่มีปัญหา แบ่งเป็น 2 รุ่น เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ลดระยะเวลารอคอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ผู้สูงอายุ, อสม., จนท.สาธารณสุข) จำนวน 490 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 17,150 บาท
รวมเงิน 17,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2567 ถึง 27 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติ ได้รับการประเมินซ้ำจากเจ้าหน้าที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17150.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไปยังคลินิกผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไปยังคลินิกผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไปยังคลินิกผู้สูงอายุ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อไปยังคลินิกผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,750.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรม/ทุกรายการแต่ละกิจกรรม สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองและประเมินสุขภาพเพื่อค้นหาผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพด้านสายตา ข้อเข่า และสมองเสื่อมหรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ได้รับการส่งต่อในการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับปัญหา


>