กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

1. นายวิชาญ เลาแก้วหนู
2. นางพิศมัย ชัยฤทธิ์
3. นางอุบล กั้งยอด
4. นางโสภา ขวัญแก้ว
5. นายวิชิต อินทร์บัว

พื้นที่รับผิดชอบรพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่มีผลสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย

 

36.00

ประชากรในเขตรับผิดชอบ รพฬสต.บ้านศาลาตำเสาส่วนใหญ่มีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น หมู่ที่ 3,12,14,15 และ 16 ตำบลชะมวงเป็นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราทำนา และทำสวนผลไม้ ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในตำบลชะมวง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นชมรมอสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรใน หมู่ที่ 3,12,14,15 และ 16 ตำบลชะมวง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 มีฐานข้อมูลสถานการณ์ของเกษตรกรที่สัมผัสสารเคมี

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด ร้อยละ 100

90.00 100.00
2 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการใช้สารเคมี

กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองสารเคมีในเลือดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการใช้สารเคมีร้อยละ 100

90.00 100.00
3 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัย

เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัย

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการในที่ประชุมประจำเดือน อสม. เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด ผลลัพธ์ -กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง และจ่ายยาสมุนไพรรางจืด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง และจ่ายยาสมุนไพรรางจืด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 1 -ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีในชีวิตประจำวัน ค่าใช้จ่าย 1. ค่าจ้างเหมาเจาะเลือดหาสารเคมีจำนวน 50 คน คนละ 50 บาท เจาะครั้งที่ 1 เป็นเงิน 2,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รวมผู้จัด จำนวน 55 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,375 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท 4.จ่ายสมุนไพรรางจืดให้กลุ่มเป้าหมายที่พบผลเลือดในระดับ เสี่ยงและไม่ปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2567 ถึง 15 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ผู้เข้าร่วมได้รับการคัดกรองตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด และได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง ผลลัพธ์ -ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้่ไปปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้างได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5675.00

กิจกรรมที่ 3 จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้การจัดทำปุ๋ยอินทรีย์50 คน ค่าวัสดุในการจัดทำปุ๋ย3000 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2567 ถึง 22 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์  50 คน ผลลัพธ์ 1.มีแหล่งเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6050.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักกินเอง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักกินเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สนับสนุนพันธุ์ผักให้เกษตรกรจำนวน 1000 บาท
  2. ประกวดเมนูสุขภาพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เกษตรกรที่ร่วมโครงการได้รับพันธ์ผักทุกคน ผลลัพธ์ กลุ่มเกษตรกรที่ร่วมโครงการ ได้บริโภคผักปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2 เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง ค่าใช้จ่าย 1. ค่าจ้างเหมาเจาะเลือดหาสารเคมีจำนวน 50 คน คนละ 50 บาท เจาะตรวจ ครั้งที่ 2 เป็นเงิน 2,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงที่พบมีความเสี่ยงผิดปกติจากการตรวจครั้งที่ 1 ได้รับการตรวจคัดกรองครั้งที่ 2 ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนทั่วไปกลุ่มเสี่ยง
2.ประชาชนมีทักษะและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคจากสารเคมี
3.ประชาชนได้รับการบริโภคผักปลอดภัย


>