กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างความรู้ผู้สูงอายุป้องกันภาวะสมองเสื่อม ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลบ้านนา

1. นายปลอดทองคง ประธานคณะกรรมการ
2. นางลัดดาวรรณศรีนาค รองประธานฯ คนที่ 1
3. นางจุไรคงจีน รองประธานฯ คนที่ 2
4. นางประคอง จันทร์สุวรรณ คณะกรรมการและเลขานุการ
5.นางสาวจิราภรณ์พงษ์ชู คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ณ อาคารอเนกประสงค์ (เฉลิมพระเกียรติ 88 พรรษา) หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

50.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินสมองเสื่อม

 

50.00

จากการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างของประชากรผู้สูงอายุ พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึงคาดว่า ในปี 2567 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20) การเพิ่มจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้าง เศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงสูงในด้านความเจ็บปวดเมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง มีความเสื่อมขอร่างกายมากขึ้น จากรายงานกลุ่มทำงานด้านสมองเสื่อมในเขตภาพฟื้นเอเซียแปซิฟิก สรุปได้ว่า ในปี 2548 มีผู้ป่วยสมองเสื่อมในภูมิภาคนี้มากถึง 13.7 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 64.6 ล้านคนในอีก 50 ปี ข้างหน้า ในประเทศไทยจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมใน พ.ศ.2559 จำนวน 617,000 คน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2580 จะมีจำนวน 1,350,000 คน

โรคสมองเสื่อมนอกจากจะทำให้สูญเสียความคิด ความจำ และความสามารถในการงานการตัดสินใจแล้วยังพบว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ดูแลและครอบครัวของผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คน อย่างครอบลุมและมีคุณภาพ ต้องใช้ผู้ดูแลอย่างน้อย 2 คน นำมาสู่ปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หากญาติในครอบครัวเป็นผู้ดูแลกันเองจะมีค่าดูแล ประมาณ 4,000 - 6,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางอ้อมของผู้ดูแล เช่น ต้องลาออกจากงานมาดูแล ค่าเสียโอกาส ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วยเอง ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอาการสมองเสื่อมได้ มีเพียงตัวยาที่ทำให้เกิดการชะลออาการท่านั้น แต่มีวิธีป้องกันที่เห็นผลได้คือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และการออกกำลังกาย ซึ่งจะชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และสามารถฟื้นฟูอวัยวะทีเสื่อมไปแล้วให้ดีขึ้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

50.00 60.00
2 เพื่อลดผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

จำนวผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมลดลง

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมิน/คัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
ประเมิน/คัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินภาวะสมองเสื่อม คัดกรองผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ให้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน  ด้วยการประเมินตนเอง ก่อนและหลังโครงการ โดยมีพยาบาลให้คำแนะนำ
งบประมาณ
ค่าเอกสารแบบประเมิน  จำนวน 50 คน ๆ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ใบ ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน  200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2567 ถึง 8 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ได้จำนวนผู้สูงอายุ ที่ได้รับการประเมินคัดกรอง จำนวน 50 คน
ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุ ที่ได้รับการประเมินคัดกรอง ได้ทราบสถานการณ์สุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันภาวะสมองเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันภาวะสมองเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้การป้องกันภาวะสมองเสื่อม ให้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน งบประมาณ
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ค่าป้ายไวนิลขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท
ค่าอุปกรณ์ในการสาธิต ชุดเกมส์บิงโกจำนวน 10 ชุด ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 10 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุเข้าร่วมอบรมทักษะของการออกกำลังกาย/กิจกรรมฝึกสมองที่เหมาะสม จำนวน 50 คน ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุได้รับความรู้และทักษะของการออกกำลังกาย/กิจกรรมฝึกสมองที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสมองเสื่อม
2. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะของการออกกำลังกาย/กิจกรรมฝึกสมองที่เหมาะสม


>