กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ)

ม.1, ม.3, ม.5, ม.6, ม.8, ม.9, ม.11, ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ

 

90.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตของชาติ ในหลายๆประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด-5 ปี อาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นรากฐานของพัฒนาการการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงเป็นวัยที่สำคัญและเหมาะสมที่สุด ในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
จากข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) พบว่าร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี เกณฑ์เป้าหมาย ปี 2564-2566ร้อยละ 62, 64 และ 66 ตามลำดับ ซึ่งผลจากการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) ปี2564-2566ร้อยละ54.17, 51.33 และ 60.92ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีภาวะโภชนาการไม่ผ่านเกณฑ์
ภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นการประเมินภาวะโภชนาการในเด็กเป็นการเฝ้าระวังและแก้ไขในกณีมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้อย่างทันท่วงที
โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)โดยกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมตระหนัก ถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำโครงการดังกล่าวเพื่อติดตาม ส่งเสริม ประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัยให้มีถาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินติดตามและส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี

ร้อยละ 90 ของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินติดตามภาวะโภชนาการเด็ก

90.00 100.00
2 2. เพื่อติดตามดูแลเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ

ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่อง

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 163
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประเมินติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชนโดยการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชนโดยการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก 0-5 ปีในชุมชน
- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลหมู่บ้านละ 1 เครื่อง จำนวน 7 เครื่องๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0-5 ปี ได้รับการติดตามภาวะโภชนาการและมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
วิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการที่ได้จากข้อมูลการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์แก้ปัญหาภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดเด็ปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดเด็ปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้โภชนาการรายบุคคลแก่ผู้ปกครองในกรณีเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองได้รับความรู้เพื่อนำไปดูแลภาวะโภชนาการเด็กให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กปฐมวัยได้รับการประเมินและส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
2.เด็กที่ทีภาวะทุพโภชนาการได้รับการติดตามและแก้ไขปัญหา


>