กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มไทร

ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

150.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

61.00

ในปัจจุบันสถานการณ์การเจ็บป่วยที่สําคัญของคนไทยพบว่าแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้นมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สถานการณ์ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างยิ่ง พฤติกรรมเสี่ยงที่สําคัญมาจากการบริโภคอาหารที่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม จัด อาหารเร่งด่วน บริโภคผักและผลไม้น้อยลง รวมถึงการสูบบุหรี่ ประกอบกับการขาดการออกกําลังกายอย่างเป็นประจำ ความเครียดและไม่สามารถจัดการกับ อารมณ์ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่สําคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปี 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มไทรมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 61 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 23 รายคิดเป็นร้อยละ 37.7 มีภาวะแทรกซ้อน 12 รายรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มไทร 43 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.86 ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.14 แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 150 ราย ควบคุมความดันโลหิตได้ดี 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.33 มีภาวะแทรกซ้อน 15 ราย รับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มไทร 116 ราย ควบคุมความดันโลหิตได้ดี 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.62 มีภาวะแทรกซ้อน 2 ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มไทร ได้เล็งเห็นความสำคัญและตระหนักถึงสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำ"โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง" เพื่อให้ผู้ที่มีโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม สามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื่อรังได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

150.00 150.00
2 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

61.00 61.00

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเองควบคุมโรค มากกว่าร้อยละ 80
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40
3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 211
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และหาแนวทางในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และหาแนวทางในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน คืนข้อมูลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวานแก่เครือข่าย

  2. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบร่วมกับเครือข่าย

  3. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย คัดเลือกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตสูงได้

  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
    4.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2 รุ่นๆละ 50 คน
    4.2 ค่าวิทยากรให้ความรู้ 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 วัน = 7,200 บาท
    4.3 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน อัตราคนละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

4.4 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนาวน 100 คน อัตราคนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

4.5 ค่าป้ายชื่อโครงการขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท

4.6 ค่าวัสดุ เป็นเงิน 11,500 บาท (รายละเอียด กระเป๋าผ้า จำนวน 100 ใบ ใบละ 50 บาท = 5,000 บาท,เอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2 ภาษา 100 ชุด ชุดละ 50 บาท = 5,000 บาท,ปากกา จำนวน 100 ด้าม ด้ามละ 10 บาท = 1,500 บาท)

  1. ติดตามผลการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  2. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 40,50 ตามลำดับ
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเองควบคุมโรค มากกว่าร้อยละ 80
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการอบรม มากกว่าร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30420.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดป้ายรณรงประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน มัสยิด โรงเรียน

- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 5 ผืนๆละ 720 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2. จัดทำเอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2 ภาษา 100 ชุด ชุดละ 50 บาท = 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามสถานที่สำคัญทุกหมู่บ้าน ประชาชนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลตนเอง
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง


>