กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง

พื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

75.72

โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพช่องปากเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในช่องปากได้ง่าย ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงต่อสุขภาพช่องปากมีสาเหตุเช่นเดียวกับโรคแทรกซ้อนในอวัยวะอื่น ซึ่งอาการที่พบในช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่เด่นชัดที่สุด ก็คือ โรคปริทันต์ ส่งผลให้เหงือกอักเสบบวมแดง กระดูกหุ้มรากฟันละลายและเหงือกร่น อาจมีอาการปวดบวม ฟันโยกและหลุดในที่สุด อาการและอาการแสดงในช่องปาก อื่น ๆ ที่มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง นอกจากโรคปริทันต์มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ปากแห้งเนื่องจากน้ำลายไหลน้อยลง อาการปวดแสบปวดร้อน ติดเชื้อในช่องปากง่าย แผลหายช้า และอาจมีการรับรสเปลี่ยนไป มีกลิ่นปาก และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากเหล่านี้ส่งผลให้เคี้ยวอาหารได้ลำบากและกินได้น้อยลง ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้มากขึ้น จากผลการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากประจําปี 2566 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีปัญหาสุขภาพช่องปาก คิดเป็นร้อยละ 75.72ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้จากการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในเรื่อง การทำความสะอาดช่องปาก การใช้อุปกรณ์เสริมการแปรงฟัน ได้แก่ ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน และการไปรับบริการทันตกรรม รวมทั้งการสนับสนุนให้เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ2567 ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลอย่าสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการเกิดโรคในช่องปาก ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะนำมาซึ่งการมีสุขภาพช่องปากที่ดีเป็นผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง และแปรงฟันได้ถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ผ่านเกณฑ์ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและแปรงฟันได้ถูกวิธี

80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ

100.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรม

ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรม

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
  2. เขียนโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลโคกม่วง และกำหนดแผนปฏิบัติงาน
  3. ติดต่อประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ
  4. เตรียมข้อมูล เอกสารและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเรื้อรังโรครังเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเรื้อรังโรครังเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการอบรม จำนวน 100 คน โดยให้ความรู้
- โครงสร้างของฟันและอวัยวะปริทันต์
- โรคฟันผุและโรคปริทันต์
- โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกับสุขภาพช่องปาก

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน100 คนเป็นเงิน 2,500 บาท
  2. ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด2 x 1 เมตร 1ป้ายเป็นเงิน 400 บาท
  3. ค่าวิทยากร จำนวน 2 วันๆ ละ3ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าโมเดลฟันโรคเหงือก จำนวน 1 ชิ้น เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาโรคในช่องปาก
  • ทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุแก่ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุดๆละ 4 หน้าๆละ 0.5 บาท เป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแปรงฟันอย่างไรให้ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแปรงฟันอย่างไรให้ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันด้วยตนเองอย่างถูกวิธีในผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  • กิจกรรมย้อมคราบจุลินทรีย์เพื่อดูความสะอาดของฟัน จำนวน 100 คน
  • ชุดอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติแปรงฟัน ประกอบด้วย
    -แปรงสีฟันผู้ใหญ่ จำนวน 100 ด้ามๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
    -ยาสีฟัน จำนวน 100 หลอดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามและประเมินผลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเรื้อรังหลังได้รับการดูแล
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง แปรงฟันได้ถูกวิธี และมีคราบจุลินทรีย์ลดลง
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทราบปัญหาในช่องปากของตัวเองได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ ไม่มีฟันผุเพื่มขึ้น
3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมและมีปัญหาสุขภาพช่องปากลดลง


>