กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กวัยเรียน 6-14 ปี โภชนาการดี สูงดีสมส่วน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

1.นางพิศมัย ชัยฤทธิ์
2.นางจำเนียร ดำด้วง
3.นางอุบล กั้งยอด
4.นางพรทิพย์ เพชรพูล
5.นางโสภา ขวัญแก้ว

ม.3,ม.12,ม.14,ม.15และม.16 พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

 

59.02
2 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

16.39

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มภาวะสูงดีสมส่วนในเด็ก 6-14 ปี

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

59.02 62.00
2 เพื่อลดภาวะอ้วนในเด็ก 6-14 ปี

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

16.39 14.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 20/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเตรียมชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการเตรียมชุมชน
1.มีการคืนข้อมูลแก่ชุมชนในเรื่องปัญหาด้านโภชนาการของเด็กวัยเรียน 6-14ปี และเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครองหรือคนในชุมชนเห็นความสำคัญด้านปัญหาโภชนาการของเด็กวัยเรียน
2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ
-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-ได้กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ
ผลลัพธ์
-ผู้ปกครองหรือคนในชุมชนมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านโภชนาการของเด็กวัยเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการและการทำกายกิจกรรมให้แก่ผู้ปกครอง และคุณครู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการและการทำกายกิจกรรมให้แก่ผู้ปกครอง และคุณครู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการและการทำกายกิจกรรมให้แก่ผู้ปกครอง และคุณครู
รายละเอียดกิจกรรม
1.จัดกิจกรรมให้ความรู้เพื่อสร้างความรอบรู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะกับวัยและการทำกายกิจกรรมที่เหมาะสมในเด็ก 6-14ปี เพื่อกระตุ้นให้เด็กวัยเรียนเพิ่มการทำกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 ท่าน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่งโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 25 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 1,500 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-กลุ่มเป้าหมายได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการและการทำกายกิจกรรมที่เหมาะสม
ผลลัพธ์
-กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการของเด็กวัย 6-14 ปี ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการของเด็กวัย 6-14 ปี ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี รายละเอียดกิจกรรม 1.สอบถามพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกายกิจกรรม
2.ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงโดยใช้เครื่องมือที่ผ่านมาตรฐาน และใช้กราฟโภชนาการในการเปรียบเทียบภาวะโภชนาการ
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าที่วัดส่วนสูง ราคา 3,500 บาท
2.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก ราคา 2,200 บาท
3.ค่าถ่ายเอกสารกราฟโภชนาการและแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร/การออกกำลังกายหรือทำกายกิจกรรม200 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-กลุ่มเป้าหมายได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ร้อยละ 100
ผลลัพธ์
-กลุ่มเป้่าหมายได้รับทราบภาวะโภชนาการของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน 6-14ปี ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน 6-14ปี ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน 6-14ปี
รายละเอียดกิจกรรม
1.ติดตามชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงในเด็กกลุ่มเป้าหมาย
2.สอบถามพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกายกิจกรรมหลังได้รับการสร้างความรอบรู้
3.แปรผลภาวะโภชนาการโดยใช้กราฟโภชนาการเปรียบเทียบ
-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามภาวะโภชนาการ ร้อยละ 100
ผลลัพธ์
-กลุ่มเป้าหมายมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 62
-กลุ่มเป้าหมายมีภาวะอ้วนลดลง ร้อยละ 2 (ร้อยละ 14)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวง
-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองและคุณครู มีความรอบรู้ด้านโภชนาการและการทำกายกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
2.เด็กวัยเรียน 6-14ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน เพิ่มขึ้น
3.เด็กวัยเรียน 6-14ปี มีภาวะอ้วนลดลง
4.ผู้ปกครองและคุณครูมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโภชนาการในเด็กวัยเรียน 6-14 ปี


>