กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยรุ่นชะมวงยุคใหม่ ไม่เสพ ไม่ท้องก่อนวัยอันควร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม. หมู่ที่ 14 บ้านไสตอ

นายทำนอง ชินวงศ์
นายพาดอน ชูทับ
นางจำเนียร ดำด้วง
นางณฐาอร แสงคงเรือง
นางปรีดา ชูนุ้ย

หมู่ที่ 14 บ้านไสตอตำบลชะมวงอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ15ปีลดลง

 

2.00
2 จำนวนเยาวชนเป็นสมาชิกชมรมTO BE NUMBER ONE บ้านไสตอ

 

80.00

เนื่องจากปัจจุบันนี้โลกเราได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะทางด้านพฤติกรรมความคิดของวัยรุ่นในสมัยนี้มีการมั่วสุมกันมากมาย เนื่องจากมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันทางสังคมรวมทั้งความเชื่อที่ผิดๆ ทำให้วัยรุ่นเกิดการสำส่อนทางเพศมั่วสุมในกามและมั่วสุมสารเสพติดมากขึ้นทำให้ปัญหาที่ตามมาคือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศศึกษา ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม รวมทั้งการไม่กล้าเข้าถึงการบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น และปัญหายาเสพติดทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน
ทางชมรม อสม.หมู่ที่ 14 บ้านไสตอ จึงจัดทำโครงการวัยรุ่นยุคใหม่ ไม่เสพ ไม่ท้องก่อนวัยอันควร ภาพรวมทั้งการจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ ภายใต้กิจกรรมชม TO BE NUMBER ONE ไปพร้อมกันเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง รวมถึงโทษของสารเสพติดทักษะการปฏิเสธ โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นสามารถแก้ไขและการป้องกันปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการใช้สารเสพติด

จำนวนหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นลดลง

2.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้วัยรุ่น วัยใส

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้วัยรุ่น วัยใส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้เยาวชนเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่นได้แก่เรื่องเพศศึกษา การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นด้านร่างกายจิตใจสังคม
งบประมาณ
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าป้ายพลาสวู๊ดแบบถือ ขนาดไม่น้อยกว่า 80 X 50 ซม.จำนวน 3ป้ายป้ายละ350บาทเป็นเงิน 1,050บาท
กิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้เยาวชนให้ความรู้พิษภัยของยาเสพติดการป้องกัน ทักษะปฏิเสธไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2.อบรมทำเสื้อมัดย้อมเพื่อเป็นตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม ผู้จัดการอบรมและวิทยากร จำนวน 40 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 70 บาทเป็นเงิน 2,800 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม ผู้จัดการอบรมและวิทยากร จำนวน 40 คน จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าอุปกรณ์เชิงปฏิบัติเสื้อเพื่อทำเสื้อมัดย้อมจำนวน 40 ตัวตัวละ 100 บาทเป็นเงิน 4,000บาท 5.ค่าสีเพื่อทำผ้ามัดย้อมเป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เยาวชนวัยรุ่นได้รับอบรมให้ความรู้เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่นจำนวน 35 คน
ผลลัพธ์
1.เยาวชนมีตวามรอบรู้และทักษะในการดูแลตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15450.00

กิจกรรมที่ 2 รอบรั้วล้อมรักผ่านสื่อรัก 3 วัย

ชื่อกิจกรรม
รอบรั้วล้อมรักผ่านสื่อรัก 3 วัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้แลกเปลี่ยนร่วมกันแก่ผู้นำชุมชนผู้ดูแลและเยาวชนจำนวน 20 คน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม ผู้จัดการอบรมและวิทยากร จำนวน 20 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน 500 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 6 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผู้นำชุมชนผู้ดูแลและเยาวชน ได้รับอบรมให้ความรู้เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่นจำนวน 20 คน
ผลลัพธ์
2.ผู้นำชุมชนผู้ดูแลและเยาวชนร่วมดูแลเยาวชนจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการใช้สารเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ศูนย์เพื่อนใจเพื่อให้เยาวชนเข้าถึง

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ศูนย์เพื่อนใจเพื่อให้เยาวชนเข้าถึง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.ประชาสัมพันธ์ศูนย์เพื่อนใจเพื่อให้เยาวชนเข้าถึง
งบประมาณ
1.ป้ายโฟมบอร์ดศูนย์เพื่อนใจขนาดไม่น้อยกล่า 0.8 X 1.2 เมตร เป็นเงิน500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เยาวชนเข้าใช้บริการศูนย์เพื่อนใจเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ 1.เยาวชนเข้าใช้บริการศูนย์เพื่อนใจเพิ่มขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่นได้แก่เรื่องเพศศึกษาเรื่องพิษภัยยาเสพติด
2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำกิจกรรมยามว่างให้เป็นประโยชน์
3.ผู้เข้าร่วมโครงการและเครือข่ายได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา แนวทางปฏิบัติตัวและแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
4.เยาวชนสมัครชมรม TO BE NUMBER ONE และเข้าถึงบริการศูนย์เพื่อนใจมากขึ้น


>