กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

นางศิรานันท์บุตรบุรี
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

พื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ได้แก่ หมู่ที่ 3หมู่ที่ 12หมู่ที่ 14หมู่ที่ 15และหมู่ที่ 16 ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

1.00
2 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

0.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

3.00
4 อัตราการฆ่าตัวตาย(ต่อแสนประชากร)

 

63.05

การฆ่าตัวตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมโรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตาย จากการประมาณการขององค์การอนามัยโลกพบว่า ใน 1 ปี จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน และติด 10 อันดับแรกของสาเหตุการตายของประชากรโลกสำหรับประเทศไทยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จคิดเป็นจำนวนคน 4,000 คน/ปีส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566พบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 2 คน คิดเป็น 63.05 ต่อแสนประชากร
พบว่าการเข้าถึงการบริการโรคซึมเศร้ามีน้อย และการคัดกรองโรคซึมเศร้าบางครั้งไม่ได้รับความร่วมมือโดยการให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัดขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำซึ่่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า "การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง" เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาจึงจัดทำโครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2567ให้ประชาชนในพื้นที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตรวมถึงกลไกการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่ต้องอาศัยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้แก่การเฝ้าระวังสัญญาณเตือนภัยการฆ่าตัวตาย 10 ประการการคัดกรองซึมเศร้าแนวทางการดูแลส่งต่อการสร้างวัคซีนใจ รวมทั้งการให้คำปรึกษาอย่างง่ายเพื่อช่วยยับยั้งความคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60  ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

3.00 2.00
2 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

0.00 0.00
3 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

1.00 2.00
4 เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ

อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกินร้อยละ 8 ต่อแสนประชากร

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,718
กลุ่มผู้สูงอายุ 676
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมสร้างความรอบรู้แก่"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต”

ชื่อกิจกรรม
อบรมสร้างความรอบรู้แก่"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความรอบรู้และพัฒนาทักษะแก่ผู้นำชุมชน/อบต./ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้เป็น “แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต” งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร5คนและผู้เข้ารับการอบรม 70 คนรวมเป็น75คนx1มื้อx25บาท เป็นเงิน 1,875 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2567 ถึง 27 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้นำชุมชน/อบต./ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเขต รพ.สต.บ้านศาลาตำเสาได้รับอบรมพัฒนาศักยภาพอสม.ให้เป็น “แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต” จำนวน 70 คน ผลลัพธ์ 1.ผู้นำชุมชน/อบต./ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาและหลักการพยาบาลทางจิตเบื้องต้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5475.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ร่วมประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่ ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2567 ถึง 2 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เกิดการประชุมร่วมกันผู้นำชุมชน/อบต./ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในเขตรพสต.บ้านศาลาตำเสา
ผลลัพธ์ 1.มีรูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่อย่างชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ในกลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ด้วยคำถาม 2QPlus,9Q และ 8Q โดยเจ้าหน้าที่และ แกนนำเชียวชาญสุขภาพจิต ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้ามากกว่าหรือเท่ากับ    ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1.ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงซึมเศร้าได้รับการรักษาต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สร้างความรอบรู้แก่เครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรอบรู้แก่เครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะแก่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  เช่น  จนท.สาธารณสุข  ผู้นำชุมชน  ตำรวจ  ผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงในการคัดกรองและเฝ้าระวังการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรง งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร5คนและผู้เข้ารับการอบรม 30 คนรวมเป็น35คนx1มื้อx25บาท เป็นเงิน 875 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2567 ถึง 25 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เครือข่ายเขต รพ.สต.บ้านศาลาตำเสาได้รับอบรมและฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรง จำนวน 35 คน ผลลัพธ์ 1.เครือข่ายเขต รพ.สต.บ้านศาลาตำเสาสามารถดูแลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2675.00

กิจกรรมที่ 5 เยี่ยมบ้านผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ประชาสัมพันธ์ สัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย 10 ประการ ในชุมชนเขตรับผิดชอบ 2.เยี่ยมบ้านโดย จนท.และ“แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต” ให้ความรู้เรื่องปัญหาสุขภาพจิต  สัญญาณเตือน ความเครียด ซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย สัญญาณเตือนในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการก่อความรุนแรงในชุมชน  และแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตแนวทางป้องกันแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิต งบประมาณ 1.ค่าจัดทำป้าย 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่” ขนาด 1.5X2 ม.พร้อมโครงติดตั้ง ราคา 750 บาท จำนวน 5 ป้าย รวมเป็นเงิน 3,750 บาท
2.ป้ายไวนิลโรลอัพขนาดไม่น้อยกว่า 60 X 160 ซม.พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุด ราคา 1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ผลลัพธ์ 1.ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการรักษาอย่าต่อเนื่อง อัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำด้านสุขภาพจิตมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย
2.มีรูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย
3.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วยแบคัดกรอง 2Q Plus
4.อัตราการฆ่าตัวตายไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร


>