กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคมะเร็ง รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

นางศิรานันท์บุตรบุรี
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ได้แก่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 12 หมู่ที่ 14 หมู่ที่ 15 และหมู่ที่ 16 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60ปี ได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST

 

20.00
2 ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-70ปี ได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

 

91.64
3 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

 

90.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60ปี ได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST

ร้อยละ40ของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-60ปี ได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST

20.00 40.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-70ปี ได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ90ของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-70ปี ได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

91.64 94.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

ร้อยละ100ของกลุ่มเป้าหมายได่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงและส่งต่อได้รวดเร็ว

90.00 100.00

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยโดยมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาปีงบประมาณ 2566พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายลำดับ 2 รองจากโรคชรา แต่ละปีพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มีอายุเฉลีย 30 - 50 ปี ซึ่งมีการใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA TEST แม้จะเป็นวิธีการตรวจที่ง่ายสะดวกแต่พบว่ากลุ่มเป้าหมายจำนวนมากยังมีทัศนคติและความเขินอายในการตรวจสำหรับมะเร็งเต้านมกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองได้เองทุกเดือนหรือสามารถเข้ารับการตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านนอกจากจะสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วความจำเป็นในการตรวจคัดกรองเพื่อเป็นการหาเซลล์มะเร็งให้พบในระยะเริ่มแรกเพื่อรักษาให้หายขาดได้ส่วนมะเร็งลำไส้เป็นมะเร็งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกันเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารปิ้งย่าง สุกๆดิบๆ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบบริการงานโรคมะเร็งจึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคมะเร็ง รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้นโดยการให้ความรู้สร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดกระแสการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มมากขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้รับการรักษาที่รวดเร็วเหมาะสมรวมไปถึงการติดตามผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มต้นสู่กระบวนการรักษาที่ต่อเนื่องช่วยลดอัตราตายต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ประชุมเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  ผู้นำชุม  อสม. วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง  พร้อมคืนข้อมูลอัตราการเกิดอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งผ่านการประชุมหมู่บ้าน งบประมาณ -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 10 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ภาคีเครือข่ายรับทราบข้อมูลโรคมะเร็งในพื้นที่
ผลลัพธ์ 1.สามารถพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูกมะเร็งลำไส้ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคจำนวน 70 คน งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร5คนและผู้เข้ารับการอบรม 70 คนรวมเป็น75คนx1มื้อx25บาท เป็นเงิน 1,875 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน ชั่วโมงละ ุ600บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท 3.สื่อโมเดลเต้านมแบบซิลิโคนราคา 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมายมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้  และมะเร็งปากมดลูก  จำนวน  70  คน เข้ารับการอบรมดังกล่าว ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้  และมะเร็งปากมดลูก  ได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านม  มะเร็งปากมดลูก  มะเร็งลำไส้  ปัจจัยเสี่ยง  และการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9175.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30 - 60 ปี โดย HPV DNA TEST 2.ส่งต่อกรณีที่ผลการตรวจพบความผิดปกติ งบประมาณ 1.อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (ผ้าถุง) ผื่นละ 100 บาทจำนวน 70 ผืนเป็นเงิน 7,000บาท
2.โคมไฟส่องตรวจภายใน ราคา 12,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและปากมดลูก จำนวน 100 คน โดย HPV DNA TEST ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30 - 60 ปี ได้รับรู้สถานะภาพสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ได้รับการส่งต่อวินิจฉัยที่รวดเร็วหากผลผิดปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย (Fit Test)

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย (Fit Test)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้กลุ่มเป้าหมาย อายุ 50 - 70 ปี  (Fit Test) ตามจำนวนจัดสรรจากโรงพยาบาลควนขนุน 2.ส่งต่อกรณีที่ผลการตรวจพบความผิดปกติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมายอายุ 50 - 70 ปี  ตามจำนวนจัดสรรจากโรงพยาบาลควนขนุน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ (Fit Test) ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายอายุ 50 - 70 ปี ได้รับรู้สถานะภาพสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ได้รับการส่งต่อทำ Colonoscopy วินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็วหากผลผิดปกติ งบประมาณ -ไม่ใช้งบประมาณ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 พัฒนาแนวทางการดูแลส่งต่อและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาแนวทางการดูแลส่งต่อและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.จัดทำข้อมูลสารสนเทศโรคมะเร็ง  ข้อมูลผู้ป่วย  การรักษา เพื่อการส่งต่อ ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
2.ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เพื่อทบทวนแนวทางการส่งต่อโรคมะเร็ง งบประมาณ -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2567 ถึง 3 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.มีแนวทางการส่งต่อโรคมะเร็งของ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ผลลัพธ์ 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งสามารถรับการส่งต่อวินิจฉัยได้รวดเร็ว  และลดอัตราการตายต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,175.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรับรู้ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคเพื่อลดอัตราป่วยมะเร็งรายใม่และอัตราการตายด้วยโรคมะเร็ง
2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมากขึ้นและเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วในรายที่ผิดปกติ
3.อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
4.มีกระบวนการส่งต่อเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันสมัยรวดเร็วง่ายต่อการตรวจรักษาต่อเนื่อง


>