กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพด้วยการเต้นลีลาศ(ลานโพธิ์) ปีที่ 4

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ชมรมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพลีลาศ(ลานโพธิ์)

นางจุฑามณี บิลังโหลด
นางสาวจุไรรัตน์ จิรพงศ์วิริยะ
นางสาวกิ่งแก้ว แก้วสม
นางสาวถนอมขวัญ ชะนะสงคราม
นางสาวสิริพร บัวประจิตต์

ลานโพธิ์ เทศบาลเมืองสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปที่ออกกำลังกายด้วยการลีลาศอย่างสม่ำเสมอด้วย (คน)

 

40.00

การลีลาศเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายและเป็นการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพ การฝึกลีลาศอย่างต่อเนื่องถือเป็นการฝึกแบบแอโรบิกที่เสริมสร้างประสิทธิภาพ ของระบบการผลิตออกซิเจนซึ่งช่วยเสริมสร้างความอดทนของระบบการหายใจ และไหลเวียนโลหิต ดังนั้นการลีลาศจึงเป็นการออกกำลังกายตามหลักวิทยาสาสตร์และยังอาศิลปะในการเคลื่อนไหวเพื่อความสวยงามอีกด้วย โดยปกติการเต้นลีลาศแบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทลาตินอเมริกันมี 5 จังหวะ และประเภทแสตนดาร์ดมี 5 จังหวะแต่การลีลาศแบบพื้นฐานในจังหวะต่างๆที่นิยมใช้ในปัจจุบันโดยเฉพาะการลีลาศเพื่อสุขภาพ เพราะมีจังหวะและทักษะที่ไม่ยากนัก ส่งเสริมให้สมาชิกมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอเสริมกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ได้สรุปผลของการลีลาศ ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมที่มองเห็นคือ มีความสามารถเพิ่มขึ้น ในด้านความอดทน ความคล่องตัว ความเร็วการทรงตัว และช่วยให้นอนหลับสบาย “ออกกำลังกายด้วยกิจกรรมลีลาศเป็นประจำทำให้หุ่นดี สุขภาพแข็งแรง”
ชมรมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพลีลาศ(ลานโพธิ์) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้สูงวัย และประชาชนในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการคนสูงวัยใส่ใจสุขภาพ ลีลาศ (ลานโพธิ์) ปีที่ 4 ขึ้น เพื่อให้ ผู้สูงวัย ประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญในการดูแลรักษา สุขภาพโดยการออกกำลังกาย ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และยังก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านร่างกายและด้านอื่นๆได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องด้วยการเต้นลีลาศ

มีกิจกรรมเต้นลีลาศ ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์

3.00 5.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศ

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 10 คน

40.00 50.00
3 เพื่อสร้างบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ

คัดเลือกบุคคลต้นแบบสุขภาพดี อย่างน้อย 3 คน

0.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 18
กลุ่มผู้สูงอายุ 37
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 14
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 18
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ออกกำลังกายเต้นลีลาศ จัดกิจกรรมการเต้นลีลาศทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ วันละ 2 ชั่วโมง ยกเว้นวันศุกร์ 1 ชั่วโมง

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายเต้นลีลาศ จัดกิจกรรมการเต้นลีลาศทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ วันละ 2 ชั่วโมง ยกเว้นวันศุกร์ 1 ชั่วโมง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเต้นลีลาศอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
1. ค่าตอบแทนครูนำเต้นลีลาศ เดือนละ 3,600 x 6 เดือน เป็นเงิน 21,600 บาท
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 3,140 บาท
- แผ่นเพลงสำหรับเต้นลีลาศ 2 แผ่น 1,200 บาท
- ไมค์ลอยคู่ 1,090 บาท
- ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด ไม่น้อยกว่า 1.5 ม. * 2.5 ม. เป็นเงิน 600 บาท ฯลฯ
- ปลั๊กพ่วงสายไฟ 250 บาท
รายชื่อสมาชิกชมรมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ(ลีลาศลานโพธิ์)
1.นางสาวประภาพรรณ แซ่ตัน2.นางเพ็ญศรี เล่าอึ้ง3.นางสาวถนอมขวัญ ชะนะสงคราม 4.นางปรานีต บุญรอดชู 5.นางสาวอารย์ ศรีนวล 6.นางเพ็ญศรี นิยมเดชา 7.นางซูไรด้าห์ บินอีตำ 8.นางเสาวคนธ์ มนธรรมสกุล 9.นางสาวราตรี สุขสัจธรรม 10.นางสาวสุชาดา ฮะอุรา 11.นางพิกมล หุ้นเอียด 12.นางสุนีย์ บำรุงชู 13.นางสาวสมพร กองผล 14.นางสาลีเนียมละออง 15.นางประไพ นกเกษม 16.นางสาวกัลยา ขู่ซุ่ยหลี 17.นางเสาวนีย์ เอี่ยมสกุล 18.นางสาวอุมาภรณ์ พิพิธพัทธอาภา 19.นางอาภา ตันติโรจนกุล 20.นางประคอง อนุพันธ์วิทยากุล 21.นางละออ กั่วพานิชย์ 22.นางสาวเสาวนิตย์ วิเศษสินธุ์ 23.นางราภรณ์ มนัสวิน 24.นางสาวนงลักษ์ น้อยเล็ก 25.นางสาวศรินทิพย์ แซ่ซอ 26.นางอัญชัน ทองมณี 27.นางสาววราภรณ์ ตั้งหลุนๆ 28.นางกนกวรรณ ภูษิตขจร 29.นางสาววันทนีย์ ตันชนะพันธ์ 30.นางสาวพรพิมล สำนักพงค์ 31.นางสาวนุจรีย์ ปิติเศรษฐ์ 32.นางเสาวนีย์ โสธารัตน์ 33.นางรัศมี รุ่งกลิ่น 34.นางสมใจ เทพนรินทร์ 35.นางสาวจิราพร จึงพานิชย์ 36.นางจุฑาทิพย์ จันทพงษ์พิวัฒน์ 37.นางบุญช่วย ชิตทะวงศ์ 38.นางจารุณี แวววรรณจิตร นางอมรรัตน์ พฤกษะศรี 39.นางอัชฌา ติรสถิตย์ 40.นางสาวศุภลักษ์ ดีจุฑามณี 41.สุพิศ ศิลา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกชมรมและประชาชานทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมลีลาศอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24740.00

กิจกรรมที่ 2 คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพคัดเลือกจากเกณฑ์ ดังนี้
1.น้ำหนักตามเกณฑ์
2.ค่าดัชนีมวลกายปกติ
3.ร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
4.มีการเลือกทานอาหารอย่างเหมาะสม
งบประมาณ
1.ค่าถ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน200 บาท
2.ค่าใช้จ่ายจัดทำเอกสารและเข้าเล่มเอกสาร จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ จำนวน 3 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,440.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีจิตสำนึกในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
2.ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงสมบูรณ์และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ
3.การออกกำลังกายด้วยการลีลาศทำให้ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.สามารถสร้างแกนนำรุ่นใหม่การออกกำลังกายในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในตำบลพิมาน


>