กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัยอย่างมีคุณค่า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง

1. นางสาวอาภรณ์ ลูกแก้ว ประธาน อสม.หมู่ที่ 7 บ้านค่ายไพออก
2. นางกาญจนา จันปาน ประธาน อสม.หมู่ที่ 8 บ้านค่ายไพตก
3. นางอำพร แก้วนพรัตน์ อสม.หมู่ที่ 7 บ้านค่ายไพออก
4. นางสาคร ศรีทองเพ็ง อสม.หมู่ที่ 7 บ้านค่ายไพออก
5. นางสุภา คงเมือง อสม.หมู่ที่ 8 บ้านค่ายไพออก

หมู่ที่ 7 , 8 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

20.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

60.00

ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านจันนา เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2566 มีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 660 คน คิดเป็นร้อยละ 20.68 ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 , 8 ตำบลชะมวง มีผู้สูงอายุจำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 19.22 และมีโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น อายุยืนยาวมากขึ้น แต่สุขภาพกาย สุขภาพไม่เหมาะสมตามช่วงวัย จากการคัดกรองเบื้องต้นสามารถจำแนกผู้สูงอายุได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้ คือ กลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ทางชมรม อสม.หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง ตระหนักถึงความสำคัญ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง จึงได้เขียนโครงการเพื่อของบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 7 , 8 ชะมวง ในกลุ่มติดบ้าน ติดสังคม ร่วมกันทำกิจกรรมการออกกำลังกาย ปลูกผักสวนครัว สวดมนต์ นั่งสมาธิ จิตอาสาพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน พัฒนากาย จิต วิญญาณ ไปเป็นกลุ่มติดสังคม และป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุในกลุ่มติดสังคม มีภาวะถดถอยกลายเป็นกลุ่มติดบ้าน และจากกลุ่มติดบ้านถดถอยกลายเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ซึ่งการดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุ ในหมู่ที่ 7 , 8 ตำบลชะมวง มีสุขภาพกาย และ สุขภาพจิตที่ดี เป็นสังคมผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่าได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

20.00 40.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 213
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 20/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง 9 ด้าน โดยทีม อสม. 23 คน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง 9 ด้าน โดยทีม อสม. 23 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงคัดกรองผู้สูงอายุในพื้นที่จำนวน 213 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวัน 23 คน x 1 มื้อ x 70 บาท เป็นเงิน 1,610 บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจ 700 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 15 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. คัดกรองผู้สูงอายุตามแบบคัดกรอง จำนวน 1 ครั้ง
2. คัดกรองได้ครอบคลุมร้อยละ 95
ผลลัพธ์ (Output)
1. คัดกรองถูกต้อง ร้อยละ 95
2. สามารถจำแนกผู้สูงอายุได้ตามเกณฑ์ ตามกลุ่มที่กำหนด เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหารายประเด็น รายกลุ่ม รายบุคคลในลำดับต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1960.00

กิจกรรมที่ 2 รวมพลังขยับกายด้วยตารางเก้าช่อง

ชื่อกิจกรรม
รวมพลังขยับกายด้วยตารางเก้าช่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รวมพลังขยับกายด้วยตารางเก้าช่อง จำนวน 30 ครั้ง ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน x 30 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
2. ค่าอุปกรณ์ตารางเก้าช่อง 20 แผ่น x 220 บาทเป็นเงิน 4,400 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากรนำออกกำลังกาย 1 คน x 1 ชั่วโมงx 100 บาท x 10 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. ผู้สูงอายุ รวมพลังออกกำลังกาย จำนวน 30 ครั้ง
2. จำนวนผู้สูงอายุ รวมพลังออกกำลังกาย ไม่น้อยกว่า 20 คน
ผลลัพธ์ (Output)
1. ผู้สูงอายุ มีภาวะเครียดลดลง ร้อยละ 50
2. ผู้สูงอายุ มีภาวะเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน ลดลง ร้อยละ 30
3. ผลการประเมินคะแนน ADL เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพจิต ด้วยการปลูกผัก ปลูกต้นไม้

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพจิต ด้วยการปลูกผัก ปลูกต้นไม้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพจิต ด้วยการปลูกผัก ปลูกต้นไม้
ผู้สูงอายุรวมพลังปลูกผัก ปลูกต้นไม้จำนวน 30 ครั้งไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. ผู้สูงอายุ รวมพลังปลูกผัก จำนวน 30 ครั้ง
2. จำนวนผู้สูงอายุ รวมพลังปลูกผัก ไม่น้อยกว่า 20 คน
3. คนในครอบครัว ในชุมชน ได้บริโภคผักปลอดสารเคมี
4. ได้แปลงผักรวมของชุมชน 1 แปลง
ผลลัพธ์ (Output)
1. ผู้สูงอายุ มีภาวะเครียดลดลง ร้อยละ 50
2. ผู้สูงอายุ มีภาวะเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน ลดลง ร้อยละ 30
3. ผลการประเมินคะแนน ADL เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วยการฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วยการฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุร่วมทำบุญ สวดมนต์ นั่งสมาธิ
ค่าใช้จ่าย
ค่าหนังสือสวดมนต์ 20 เล่ม x 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. ผู้สูงอายุ ร่วมทำบุญ สวดมนต์ นั่งสมาธิ จำนวน 10 ครั้ง
2. จำนวนผู้สูงอายุ ร่วมทำบุญ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ไม่น้อยกว่า 20 คน
ผลลัพธ์ (Output)
1. ผู้สูงอายุ มีภาวะเครียดลดลง ร้อยละ 50
2. ผู้สูงอายุ มีภาวะเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน ลดลง ร้อยละ 30
3. ผลการประเมินคะแนน ADL เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,360.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการตั้งกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ 1 กลุ่ม
2. มีคณะกรรมการขับเคลื่อนชมรม 1 คณะ
3. ชมรมมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (รวมพลังออกกำลังกาย ปลูกผักปลอดสารเคมี สวดมนต์ นั่งสมาธิ)
4. สมาชิกชมรมมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ เหมาะสมตามช่วงวัย


>