กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของหนูน้อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน

1.นางสาวกามีลาวาตี หะยีสาและ โทร.086-2945892
2.นางสาวฮาซานะห์ วาสารี
3.นางนูรไอนิง อาแว
4.นางรุสนา จะมาจี
5.นางสาววรรณี ปาแซ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโกลก อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กในช่วงแรกเกิด - 5 ปี ถือเป็นช่วงที่เริมมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะส่งผลถึงสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสมและเพียง จะทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี ในทางตรงกันข้ามหากรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพออจะทำให้ขาดสารอาหารหรือถ้ามีการรับประทานอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือภาวะโภชนาการเกิน โภชนาการเป็นเรื่องของการกินอาหาร ที่ร่างกายนำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพโดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา
ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวะการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขา่ดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน และเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่องและต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองจึงจะสำเร็จ หากถ้าครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองละเลยไม่ได้หาแนวทางแก้ไขก็จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวต่อไป
ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาุะสมวัยจึงได้จัดโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของหนูน้อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน ประจำปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็ก เฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก เฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาแก่เด็ก

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาแก่เด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะทุพโภชนาการ เด็กได้รับการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะทุพโภชนาการได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของหนูน้อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน ประจำปี 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของหนูน้อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน ประจำปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู ผู้ดูแลเด็ก 14 คน และผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน 160 คน รวมจำนวนทั้งหมด 174 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1.ขั้นเตรียมงาน
- ประชุมครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อวางแผนรูปแบบกิจกรรม
- ประสานเจ้าหน้าที่วิทยากร
- จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในโครงการ
2. ขั้นตอนดำเนินงาน
- กิจกรรมการอบรมให้ความรู้โดยรวมกลุ่มเป้าหมายของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีนเป็นระยะเวลาครึ่งวัน
3. ขั้นสรุปผล
- สรุปผลการดำเนินงาน
กำหนดการ
เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 - 11.00 น. อบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน พร้อมสาธิตการทำเมนูอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
เวลา 11.00 - 12.00 น. กิจกรรมสร้างเสริมทักษะด้านโภชนาการ สาธิตการทำเมนูอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 1 คน X 600 บาท X 2 ชม. = 1,200 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร (กลุ่ม) 3 คน X 300 บาท X 1 ชม. = 900 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 174 คน X 30 บาท/มื้อ = 5,220 บาท
4. ค่าป้ายโครงการ1 ผืน X 1,200 บาท = 1,200 บาท
5. ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 4 ผืน X 1,500 บาท = 6,000 บาท
6. ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับการสาธิตเมนูอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 5,900 บาท
หมายเหตุ สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน มีความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน มีทักษะด้านโภชนาการในการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,420.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก
2. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาแก่เด็ก
3. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะทุพโภชนาการ เด็กได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


>