กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล-และก่อนวัยเรียนชุมชนท่าโรงเลื่อย ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชุมชนท่าโรงเลื่อย

1. น.ส.ยูลานา ดามิ 0830688078
2. น.ส.สุดา สือแต 0935968483
3. นายอาดือรี ยายอ 0874772499
4. นายรุสลี บินแม 0814180953
5. นางเสาวนีย์ สือแม 0986725262

ชุมชนท่าโรงเลือย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบว่าเด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่่ต่อคน สาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยไม่ได้เรืิ่มแปรงฟันตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภากช่องปากในอนาคตได้ การมีฟันน้ำนมเด็กจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งอาการปวดฟันยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กตัวเล็กๆสาใารถขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารามณ์และสติปัญญาได้
นอกจากนี้เด็กที่มีฟันน้ำนมผุก็มักจะพบว่าฟันแท้ผุไปด้วย เนื่องจากเด็กที่มีฟันผุจะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติซุ่งจะส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นใหม่นั้นเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันตั้วแต่วัยเด็ก เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวติที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีฟันแข็งแรงและไม่มีปัญหาเก่วกับสุขภาพช่องปาก
ซึ่งจากการสำรวจพบเด็กที่มีอายุ 2-6 ปีในชุมชนท่าโรงเลื่อยมีเด็กจำนวนไม่น้อยกว่า 50% ที่มีปัญหาฟันผุและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ชุมชนท่าโรงเลื่อยจึงจัดโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมเด็กในชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น

ร้อยละของเด็กในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น

30.00 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟันและการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง เด็กในชุมชนรักการแปรงฟันมากขึ้น

ร้อยละของผู้ปกครองและเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟันและการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง เด็กในชุมชนรักการแปรงฟันมากขึ้น

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/03/2024

กำหนดเสร็จ 10/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันชุมชนท่าโรงเลือย

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันชุมชนท่าโรงเลือย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง 30 คน และเด็กก่อนวัยเรียน 30 คน ในชุมชนท่าโรงเลื่อย รวม 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมช่วงเช้าอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
- กิจกรรมช่วงบ่ายมีการคัดกรองช่องปากและฟันให้แก่เด็กๆ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่มสาธิตการแปรงฟัน/คัดกรองช่องปากและฟันให้แก่เด็กๆ
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร(บรรยาย) 600 บาท x 3 ชั่วโมง = 1,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร(กลุ่ม) 300 บาท x 3 ชั่วโมงx 2 คน = 1,800 บาท
3. ค่าป้ายโครงการ = 1,200 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 60 คน x 2 มื้อ = 3,600 บาท
5. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 60 คน= 3,600 บาท
6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ สมุด ปากกา แฟ้ม เป็นต้น= 1,500 บาท
7. ค่าอุปกรณ์สาธิต แปรงสีฟัน + ยาสีฟัน 30 บาท x 30 ชุด = 900 บาท
8. แก้วพลาสติก 30 ใบ x 10 บาท = 300 บาท
9. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 20 บาท x 30 ผืน = 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มีนาคม 2567 ถึง 7 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและเด็กในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ได้รับการตรวจคัดกรองช่องปากและฟัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,300.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น
2. ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟันและการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง เด็กในชุมชนรักการแปรงฟันมากขึ้น


>