กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกองทุนสุขภาพ คนสามวัย ใส่ใจสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชุมชนโก-ลกวินเลจ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

อสม.ชุมชนโก-ลกวินเลจ

วิลาวัลย์ คชกาล 0831682610
วาริน ยอดแก้ว
อัมพร แสงแก้ว
ธีรยุทธ นิลวิจิตร
มีเนาะ สีโปง

ชุมชนโก-ลกวิลเลจ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรถึง 41 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 ปี 2562 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 14 ล้านคน (ร้อยละ 25.4) เท่ากับว่า 1 ใน 4 ของคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 48.8) ไม่ทราบว่าตนเองป่วย พร้อมกันนั้นยังพบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 5 ล้านคน (ร้อยละ 9.5) 1 ใน 3 คน (ร้อยละ 30.6) ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อน และมีเพียง1 ใน 4 คน (ร้อยละ 26.3) เท่านั้น ที่สามารถควบคุมสภาวะของโรคได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยในกลุ่มโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะพฤติกรรมการทานอาหารในแต่ละวัน โดยสาเหตุสามารถเกิดได้จากหลายกรณี เช่น ความไม่เข้าใจข้อมูลด้านโภชนาการ การทานเยอะแต่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย เป็นต้น ดังนั้นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานทานอาหารให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถทำได้
ชุมชนโก-ลกวินเลจมีข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน มีดังนี้ โรคเบาหวาน 15 ราย, โรคความดันโลหิตสูง 109 ราย, โรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน 35 ราย, โรคหลอดเลือดสมอง 3 ราย, โรคไต 6 รายและโรคไขมันในเลือดสูง 112 ราย ซึ่งจะเป็นได้ว่าประชาชนในชุมชนมีจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ อสม.ชุมชนโก-ลกวินเลจได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำให้ประชาชนในชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มป่วยด้วยโรคติดต่อเรื้อรังมีความรู้เพิ่มขึ้นทางด้านโภชนาการที่ดีและเหมาะสมจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ด้านการบริโภคอาหารแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

40.00 80.00
2 เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กินอย่างไร ? ให้สมวัย และปลอดโรค

ชื่อกิจกรรม
กินอย่างไร ? ให้สมวัย และปลอดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนและผู้สูงอายุในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมให้ความรู้โดยนักโภชนาการ จำนวน 1 วัน
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน/เปิดโครงการ
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่อง โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผู้สูงอายุ , การใช้สมุนไพร เฉพาะกลุ่ม กินเป็นยา โดยนักโภชนาการ พร้อมสาธิตการทำเมนูอาหารที่เหมาะสม
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่อง เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ /อาหารว่างเพื่อสุขภาพ พร้อมสาธิตการทำเมนูอาหาร
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (ไม่ใช้งบประมาณ)
- วัตถุดิบประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ 5 กลุ่ม ๆ ละ 1 เมนู ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัตถุดิบทำเครื่องดื่มสมุนไพร และอาหารว่างเพื่อสุขภาพ เมนูละ 500 บาท x 5 กลุ่ม เป็นเงิน 2,500 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,100.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการบริโภคอาหารแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการป้องกันและลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้


>