กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ การป้องกันเด็กจมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ สุไหงโก-ลก

1. นายธีระ วงศ์ชัยศรี โทร.081-957-5100
2. นายวิชิตชาติอุดมลาภเจริญกิจ โทร. 08-1599-0062
3. นายกฤษฤทธิ์อุดมลาภเจริญกิจโทร. 08-9656-1777
4. นางสาวซารียาอารงโทร.09-8510-7155
5. นางสาวจันทนาโคตวิทย์โทร. 09-2535-4797

โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลกและโรงเรียนเทศบาล 4

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในพื้นที่ อำเภอสุไหงโก-ลก มีเขตชุมชนที่ใกล้แม่น้ำสุไหงโก-ลก ตามสถิติจะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด และพบว่าเด็กที่จมน้ำเสียชีวิตเป็นเด็กที่ว่ายน้ำเป็น เด็กอายุต่ำกว่าอายุ 15 ปีซึ่งชี้ให้เห็นว่าแม้กระทั่งเด็กที่ว่ายน้ำเป็น ก็มีโอกาสจมน้ำเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน โดยถ้าเปรียบเทียบกับสถิติในประเทศไทยเด็กอายุดังกล่าวจะเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 1,400 คน เฉลี่ยในอำเภอสุไหงโก-ลก จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต ปีละ 2 คนขึ้นไป สาเหตุมักเกิดในช่วงน้ำไหลหลาก น้ำขัง ช่วงน้ำท่วมและช่วงฤดูร้อน แหล่งน้ำเสี่ยงไม่ได้มีเพียงในสระว่ายน้ำหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่รวมไปถึงพื้นที่ในบ้านที่หลายคนคาดไม่ถึงอย่างกะละมังที่มีน้ำ ถังน้ำเด็กเล็กที่ยังมีการทรงตัวไม่ดี ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองขึ้นมาจากถังน้ำ กะละมัง โอ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ปกครองละสายตาหรือปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งเสี่ยงเพียงลำพัง บางครั้งแค่คุยโทรศัพท์ ทำกับข้าว หรือเข้าห้องน้ำ ก็เป็นต้นเหตุของการจมน้ำเสียชีวิตได้
การมีความรู้ มีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและการช่วยเหลือคนตกน้ำเบื้องต้น โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่าที่ลอยน้ำได้ โยนครั้งละหลายๆ ชิ้น และยื่นสิ่งของยาวๆ ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ท่อนไม้ เข็มขัด ผ้าขาวม้า ยื่นอุปกรณ์ไปข้างใดข้างหนึ่งแล้วจึงกวาดเข้าหาตัวคนที่อยู่ในน้ำ และดึงตัวเข้าหาฝั่งขึ้นมาจากน้ำ เป็นการสร้างความปลอดภัยทางน้ำให้แก่เด็ก ผู้ปกครอง เป็นการเสริมทักษะชีวิตเรื่องการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติทางน้ำที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะกับเด็ก เยาวชน ในพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รวมไปถึงแหล่งพักอาศัยของชุมชน เยาวชน อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ
มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงจัดโครงการป้องกันเด็กจมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น ประจำปี 2567 เพื่อฝึกหัดให้เด็กและเยาวชน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก สามารถว่ายน้ำเป็น เอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำและสามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการช่วยเหลือตนเองแลผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธี

ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการช่วยเหลือตนเองแลผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธีเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

40.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถช่วยเหลือตนเองและให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถช่วยเหลือตนเองและให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการป้องกันเด็กจมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการป้องกันเด็กจมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 50 คน (รุ่นที่ 1)
- นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 ช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 50 คน (รุ่นที่ 2)
- คณะทำงาน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมทีมวิทยากรแผนงานการนำเสนอโครงการ ในรูปแบบบูรณาการ
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายเข้ารับฝึกอบรม
3. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอบรม
4. ดำเนินการอบรมให้ความรู้ตามโครงการป้องกันเด็กจมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น ประจำปี 2567 (ช่วงเช้า) และฝึกภาคปฏิบัติ (ช่วงบ่าย) โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน
5. สรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. - ลงทะเบียน รับเอกสาร การอบรมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
08.30 - 09.00 น. - พิธีเปิดงานโครงการฯ
09.00 - 10.00 น. - อบรมให้ความรู้ “เรื่อง ปัจจัยที่ทำให้เกิดจมน้ำและความปลอดภัย”
10.00 - 12.00 น. - อบรมให้ความรู้ “เรื่อง การช่วยฟื้นคืนชีพในกรณีจมน้ำ”
12.00 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. - ฝึกภาคปฏิบัติการว่ายน้ำ และการว่ายน้ำเคลื่อนไหว พร้อมการใช้อุปกรณ์และหัด ตะโกน โยน ยื่น
16.00 - 17.00 น. - สรุปผลการดำเนินโครงการฯ
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมาย) 100 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) จำนวน 10 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 2 รุ่น เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน (คณะทำงาน) จำนวน 10 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 2 รุ่น เป็นเงิน 1,200 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร(บรรยาย) ชั่วโมงละ 600 บาท x 3 ชม./วัน x 2 รุ่น เป็นเงิน 3,600 บาท
5. ค่าตอบแทนวิทยากร(กลุ่ม) ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน/กลุ่ม x 2 กลุ่ม x 3 ชม./วัน x 2 รุ่น เป็นเงิน 3,600 บาท
6. ค่าอุปกรณ์ในการอบรมได้แก่ แกลลอน เชือก ท่อพีวีซี และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นเงิน 4,000 บาท
7. ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะเบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการช่วยเหลือตนเองแลผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธี
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถช่วยเหลือตนเองและให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง


>