กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

อสม.ชุมชนกือดาบารู

นางสาวมารียานา มักตา โทร. 081-6086914
นางปารีด๊ะอาแว
นางสาวนาลมาดีย๊ะสือนิ
นางสาวฟารินดา บินสอเลาะ
นางสาววันดีอูเซ็ง

ชุมชนกือดาบารู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชนกือดาบารูพบว่าปัญหาสุขภาพ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน มีปัจจัยความเสี่ยงที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญ คือ 1.ประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง 2.ปัญหาในเรื่องอุปสรรคทางวัฒนธรรม เช่น ความอาย ไม่อยากพบแพทย์ เป็นต้น จึงต้องมีการเสริมสร้างพลังเป็นรูปแบบ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพในชุมชน และให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตอีกด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและการคัดกรองโรคด้วยตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ลดหวาน มัน เค็ม และการจัดการความเครียด

ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ลดหวาน มัน เค็ม และการจัดการความเครียด เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมากขึ้น

ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

ประชาชนในชุมชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

40.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมให้ความรู้เรื่่องวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการเลือกทานอาหารสุขภาพดี ลดหวาน มัน เค็ม
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- อบรมให้ความรู้เรื่องอารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข โดยวิทยากรนักจิตวิทยา
- ส่งเสริมสุขภาพดวงตาด้วยสมุนไพร โดยวิทยากรแพทย์แผนไทย
กำหนดการ
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรองสุขภาพ /เปิดโครงการ
09.00 - 10.00 น. บรรยายให้ความรู้เรื่่องวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม และสาธิตการออกกำลังกายรองเง็งแอโรบิคโดยวิทยากรแม่แบบแอโรบิค
10.00 - 11.00 น. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการเลือกทานอาหารสุขภาพดี ลดหวาน มัน เค็ม โดยวิทยากรพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
11.00 - 12.00 น. บรรยายให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยวิทยากรเจ้าหน้าที่จากศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 14.00 น. บรรยายให้ความรู้เรื่องอารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข โดยวิทยากรนักจิตวิทยาจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
14.00 - 15.00 น. บรรยายให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพดวงตาด้วยสมุนไพร โดยวิทยากรแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
15.00 - 16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลต้นแบบสุขภาพดี
16.00 น. ปิดโครงการ
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 50 คน x 2 มื้อ = 3,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน x 1 มื้อ = 3,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร(บรรยาย) 5 คน x 600 บาท x 1 ช.ม.= 3,000 บาท
4. ค่าตอบแทนต้นแบบสุขภาพดี 1 คน x 300 บาท x 1 ช.ม.= 300 บาท
5. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลโครงการ = 1,200 บาท
6. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลปิงปอง 7 สี = 700 บาท
7. ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ สติ๊กเกอร์สัญญาณเตือนโรค Stroke 2 ภาษา แผ่นละ 30 บาท x 100 แผ่น =3,000 บาท
8. แถบเจาะน้ำตาลในเลือด 50 อัน = 1,700 บาท
9. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล 1 เครื่อง = 3,500 บาท
10. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ผ้าขาวม้า) 55 บาท x 50 ผืน = 2,750 บาท
11. ค่าสำลีแห้ง = 130 บาท
12. ค่าสำลีแอลกอฮอล์บอล 50 แผง = 500 บาท
13. ค่าสายวัดเอว = 20 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องลดหวาน มัน เค็ม และการจัดการความเครียด
2. ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น
3. ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้


>