กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

รพ.สต.บ้านโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุงและทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสุไหงปาดี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการผู้ป่วยนอก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จัดอยู่ในอันดับที่ 1 และพบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบโรคแทรกซ้อนร้อยละ 55.77 และยังพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ3ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการตายด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

 

0.00
2 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 - จัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
- จัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 70 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 4,200.- บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 70 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน 4,200.- บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 70 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 2,100.- บาท
  4. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 720.- บาท
  5. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยรู้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอการดำเนินโรคสู่ภาวะแทรกซ้อน มีทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยรู้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอการดำเนินโรคสู่ภาวะแทรกซ้อน มีทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน (Self-care skills)
2. ไม่พบผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
3. ผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี


>