กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

โรงเรียนวัดนิคมสถิต

โรงเรียนวัดนิคมสถิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตการพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นสิ่งสำคัญของหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะต้องตระหนัก และให้ความสนใจเพื่อให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัย ปัจจุบันเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดนิคมสถิต ส่วนใหญ่มีผู้ปกครอง จะต้องไปทำงานตั้งแต่กลางคืน หรือตั้งแต่เช้าตรู่ จึงไม่มีเวลาดูแลเรื่องอาหารกลางกินของเด็ก ๆ ในปกครอง จึงส่งผลให้เด็กๆส่วนใหญ่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียนส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน อีกทั้ง เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ และส่งผลให้พัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กเป็นไปอย่างล่าช้าได้
ดังนั้น โรงเรียนวัดนิคมสถิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการส่งเสริมด้านภาวะโภชนาการให้แก่เด็ก ๆ อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านร่างกายให้แก่เด็ก ให้ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน(เด็กและเยาวชน) ให้ เก่ง ดี มีความสุขทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น

21.00 21.00
2 ช่วยเหลือนักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการให้ได้รับประทานอาหารเสริมที่มีคุณค่า และปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

นักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการลดลง

21.00 21.00
3 เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ

นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการลดลง

21.00 21.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 21
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และจัดอาหารเสริมสำหรับนักเรียนทุกคนที่มีแนวโน้มเสี่ยงและมีภาวะทุพโภชนาการ ในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน เวลา 07.00 - 07.30 น.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และจัดอาหารเสริมสำหรับนักเรียนทุกคนที่มีแนวโน้มเสี่ยงและมีภาวะทุพโภชนาการ ในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน เวลา 07.00 - 07.30 น.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้และจัดอาหารเสริมสำหรับนักเรียนทุกคนที่มีแนวโน้มเสี่ยงและมีภาวะทุพโภชนาการ ในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน เวลา 07.00 - 07.30 น.

  1. จัดอาหารมื้อเช้า จำนวนนร. 21 คน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 20.-บาท จำนวน 50 วัน เป็นเงิน 21,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงและมีภาวะทุพโภชนาการได้รับอาหารเช้า และมีสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับอาหารเสริมทุกคน

2.นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ที่มีแนวโน้มภาวะทุพโภชนาการลดลง


>