กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุุสุขใจ ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมหมายถึงบุคคลนั้นมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรังอันส่งผลให้เกิดการถดถอยของร่างกาย ปัญหาด้านสุขภาพจิตภาวะซึมเศร้าจากการถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง ภาวะซึมเศร้าหลังจากวัยเกษียณ และการขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในสังคม เป็นต้น ปัจจุบันผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ มีจำนวนทั้งสิ้น 781 คน และมีแนวโน้มอายุยืนยาวและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี กลุ่มผู้สูงอายุมักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ สูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง และโรคความจำเสื่อม เป็นต้น ดังนั้นผู้สูงอายุจึงเป็นวัยที่ควรได้รับการดูแลทั้งสุขภาพกาย และจิตเป็นพิเศษให้ทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพทั้งสุขภาพกายและจิต และลดผลกระทบต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในชุมชน
ดังนั้น ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ จึงขอจัดโครงการผู้สูงอายุสุขใจ ใส่ใจสุขาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ป้องกัน และส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

30.00 30.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และมีขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ

30.00 30.00
3 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่มของผู้สูงอายุในพื้นที่ และให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

มีการเข้าร่วมกลุ่มของผู้สูงอายุในพื้นที่ และให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานและร่วมทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุจำนวน 30 คน เข้าร่วมอบรม ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป จำนวนทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยจัดทำหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุใน

ชุมชน ประกอบด้วย

  1. การดูแลตนเองและปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  2. การดูแลในการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และโภชนาการในผู้สูงอายุ

  3. การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และท่าทางที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการปวดต่าง ๆ

  4. โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และการป้องกันภาวะหกล้ม

  5. ความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

  6. กิจกรรมที่ช่วยเรื่องความจำและป้องกันภาวะอัลไซเมอร์

  7. การรักษาสุขภาพ โดยการแพทย์แผนไทย

  8. กิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

งบประมาณ

  1. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 8 ครั้งเป็นเงิน 14,400 บาท

  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (มื้อเช้า) จำนวน 42 ชุด ๆ ละ 35 บาท จำนวน 8 ครั้ง

เป็นเงิน 11,760 บาท

  1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 × 2.4 เมตรเป็นเงิน600 บาท

  2. เอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 4,540 บาท

  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการฝึกอบรม เช่น สมุด ปากกา เป็นเงิน 10,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 41,300 บาท (เงินสี่หมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูร่างกาย สามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น

2. ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตและเกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สูงอายุในพื้นที่

3. เพิ่มการเข้าร่วมกลุ่มของผู้สูงอายุในพื้นที่ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน


>