กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชุมพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชุมพล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำกะ

หมู่ที่ 1 ,3,5,6,7,10และหมู่ที่ 11 ตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่งสูงขึ้นเช่นกัน กลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ และยังคงมีปัญหาการเจ็บป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสารกำจัดแมลง ซึ่งอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย สารเคมีที่เข้าไปสะสมจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนจนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จนแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจเอาละอองสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานน้ำและอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้น ทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น ในส่วนของการตรวจวิเคราะห์หาสารพวกออร์กาโนฟอสเฟตหรือคาร์บาเมท จากอวัยวะต่างๆ หรือจากเลือดมักจะได้ผลไม่ดี เนื่องจากสารพิษเหล่านั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเกิดปฏิกิริยาทางเคมีหลายอย่าง จึงนิยมใช้วิธีตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) ในเลือดและอวัยวะต่างๆ เป็นการยืนยันการเป็นพิษแทน เพราะสารเคมีทั้งสองกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) ซึ่งสามารถตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) โดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษขององค์การเภสัชกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในบ้านพื้นที่ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด

 

5.00 10.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และติดตามเฝาระวังภาวะสุขภาพ

 

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 140
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้้นเตรียมการ
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์และวางแผนการดำเนินโครงการ
3. ประสานกับพื้นที่เพื่อเตรียมการและจัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน
4. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการจัดกิจกรรม
5. จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการเตรียมแผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รับสมัครประชาชนวัยทำงานเข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้าง และอบรมใ่ห้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครประชาชนวัยทำงานเข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้าง และอบรมใ่ห้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นดำเนินการ
1. กิจกรรมลงทะเบียน และรับแบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้ารับการเจาะเลือด
2. เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3. ดำเนินการอบรมให้ความรู้วัยทำงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการและตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้าง จำนวน 140 คนและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร/ผู้บริโภค ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 140 คนๆละ 1 มื้อๆละ 80 บาท เป็นเงิน 11,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 140 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ชุดละ 1,700 บาท 2 ชุด เป็นเงิน 3,400 บาท
- ค่าจ้างทำสมุดการป้องกันสารเคมีตกค้าและแจ้งผลตรวจ จำนวน 140 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,800บาท
รวม 27,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนวัยทำงานเข้าร่วมโครงการและได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้าง จำนวน 140 คน/ประชาชนวัยทำงานมีสุขภาพดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27400.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเฝ้าระวังตรวจซ้ำในกลุ่มที่ตรวจพบ เสี่ยงและไม่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเฝ้าระวังตรวจซ้ำในกลุ่มที่ตรวจพบ เสี่ยงและไม่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นประเมินผล
1.ติดตามเฝ้าระวังตรวจซ้ำในกลุ่มที่ตรวจพบ เสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 100 คน
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
รวม 2,500 บาท
2. แจ้งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบผลการตรวจว่าอยู่ในระดับใด ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย
3. รายงานผลการดำเนินงานปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย ได้รับการติดตามเฝ้าระวัง และตรวจซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจอันตรายจากการสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงสามารถป้องกันตัวเองได้ หากมีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้ผลว่าระดับสารเคมีในเลือดของตนเองว่าอยู่ในระดับใดเฝ้าระวังตรวจซ้ำในกลุ่มที่ตรวจพบ เสี่ยงและไม่ปลอดภัย หลังจากติดตาม กลับมา ปกติ และ ปลอดภัย


>