กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมีลูกต้องฉีดวัคซีน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เมื่อกล่าวถึง “วัคซีน” หลายคนจะนึกถึงการให้วัคซีนในเด็กเป็นอันดับแรก ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคส่วนใหญ่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยเรียน เนื่องจากวัยเด็กเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังพัฒนา รวมถึงอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันด้วย จึงมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย และความรุนแรงของโรคอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและชีวิต เด็กจึงควรได้รับวัคซีนโรคต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ปลอดจากโรคที่อาจทำให้ป่วยและเป็นอันตรายได้
วัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน ที่เด็กแรกเกิด – 5 ปี ทุกคนต้องได้รับอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์อายุ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนทุกโรคเป็นโรคที่อันตรายหากไม่ได้รับภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง บางโรคการติดต่อเกิดขึ้นได้ง่ายทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผลของการระบาดทำให้ผู้ติดเชื้อพิการและเสียชีวิตได้รวมทั้งในปัจจุบันได้มีการระบาดของโรคคอตีบและหัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้มีเด็กป่วยและเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องจากการสำรวจข้อมูลการรับวัคซีนในเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยปีงบประมาณ 2566 พบว่า ในเขตรับผิดชอบตำบลโต๊ะเด็งการรับวัคซีนยังไม่ต่อเนื่องและผู้รับบริการบางรายยังไม่มาตามนัด
ทางผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็งจึงจัดทำโครงการมีลูกต้องฉีดวัคซีน ปี 2567 โดยประสานความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน ในการแก้ไขปัญหาและเน้นการให้บริการฉีดวัคซีนเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามเกณฑ์อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายที่กำหนด และมารับบริการต่อเนื่องตามที่นัดไว้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข / แกนนำชุมชน และผู้ปกครอง ให้มีความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด – 5 ปี ได้รับวัคซีนตามนัด และต่อเนื่อง

 

0.00
3 เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม. แกนนำ และผู้ปกครองเด็ก 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการไม่ได้รับวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการไม่ได้รับวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการไม่ได้รับวัคซีนแก่อาสาสมัครสาธารณสุข/แกนนำชุมชน และผู้ปกครอง เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการของการนำบุตรหลานมารับวัคซีน

  • ค่าอาหารกลางวัน วันประชุมชี้แจง ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข /แกนนำชุมชน จำนวน 60 คน x 60 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันประชุมชี้แจง ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข /แกนนำชุมชน และผู้ปกครองจำนวน 60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุข /แกนนำชุมชน และผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สามารถถ่ายทอดความรู้ ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองที่ยังไม่นำนำบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์ให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น  สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อาสาสมัครสาธารณสุข /แกนนำชุมชน และผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สามารถถ่ายทอดความรู้ ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองที่ยังไม่นำนำบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์ให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>