กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนปอดใส ห่างไกลควันบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาวง

รพ.สต.บ้านนาวง

ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่คุกคามชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน จากโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๑ ในชายและหญิงในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 70 ชนิด ควันบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่เป็นปัจจัยก่อมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหอบหืด ภูมิแพ้ โรคอื่นๆมากมาย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสานพลังความร่วมมือในการลด ละ เลิกบุหรี่ ส่งเสริมการบังคับกฎหมายตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากการได้รับควันบุหรี่มือ 2และ 3 ในคนที่ไม่ได้สูบและสร้างเสริมกลไกทางสังคมดูแลให้กำลังใจให้คนสูบ ลด ละเลิก ตลอดจนป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่
ดังนั้นจากการดำเนินงานคลินิคโรคเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านนาวง ได้มีการดำเนินงานคัดกรองผู้สูบบุหรี่ร่วมด้วย และพบผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลตำบลนาวงที่มีการสูบบุหรี่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาวงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการชุมชนปอดใส ห่างไกลควันบุหรี่ เพื่อสร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึกร่วมกันของชุมชนในการลด ละ เลิกบุหรี่ และส่งเสริมวัฒนธรรมไม่ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ/สถานที่ราชการ/สถานพยาบาล ช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่โดยการเข้าคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ในรพ.สต.

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงโทษพิษภัยของบุหรี่

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงโทษพิษภัยของบุหรี่

13.50 5.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจวัดระดับค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด ด้วยเครื่อง smokerlyzer จากการเข้าคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ในรพ.สต.

ร้อยละ 10 ของผู้เข้าร่วมโครงการ  มีระดับค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอดลดลง

13.50 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองผู้สูบบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองผู้สูบบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจคัดกรองและจัดทำทะเบียนผู้สูบบุหรี่
  2. ตรวจประเมินสัญญาณชีพ  บันทึกประวัติการสูบบุหรี่  ตรวจวัดระดับค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอดด้วยเครื่อง smokerlyzer.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่
  • ภาวะสุขภาพผู้ที่สูบบุหรี่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
950.00

กิจกรรมที่ 2 คลินิกเลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
คลินิกเลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินงานคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ใน รพ.สต.โดยจัดบริการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล/รายกลุ่ม เกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่ /โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ /กลยุทธ์ในการเลิกบุหรี่ /การเข้าระบบบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่  /เขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย /จ่ายชุดยาสมุนไพรช่วยอดบุหรี่ โดยให้บริการแบบคู่ขนานในวันคลินิกโรคเรื้อรัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษภัยบุหรี่อย่างแท้จริงและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิก บุหรี่ จากการเข้าคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ โดยมีระดับค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สาธารณะให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย


>