กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟูหน่วย First Responder ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางสาภิษชา เบญญวิญญู
2. นางโรห์ฮานี แวดอเลาะ
3. นางกนกวรรณ รัตนบุรี
4. นายภูษิต บุญหวังช่วย
5. นางสาวซากีเราะ ตาเย๊ะ

มูลนิธิธารน้ำใจ(เซิ่งหมู่ ) อ.สไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนการนำส่งไปยังสถานพยาบาลเป็นระยะที่สำคัญ เพราะช่วงก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็น ''Golden Hour'' ของการรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้มากที่สุดมากกว่าการได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ การพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุและการสั่งการที่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน การใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลกมีการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีจำนวนไม่มาก การพัฒนาหน่วยปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น ให้ได้มาตรฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมให้มีความรู้ความสามารถในเรื่องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น สามารถประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินและสถานการณ์ และการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ ทั้งในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้ ตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบแตกตัน ซึ่งสามารถให้บริการในระบบช่องทางด่วนฉุกเฉินได้
ในปีที่ผ่านมา การให้บริการของเครือข่ายให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของประชาชน การใช้หมายเลข 1669 ของประชาชน ในอำเภอสุไหงโกลก พบว่า คุณภาพการดูแลในด้านต่างๆ มีดังนี้
- ด้านการดูแลทางเดินหายใจ เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2564-2566 ร้อยละ 98,98,99 ตามลำดับ
- ด้านการห้ามเลือด เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2564-2566 ร้อยละ 97,98,98.5 ตามลำดับ
- ด้านการดามกระดูก เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2564-2566 ร้อยละ 98,99,99 ตามลำดับ
จากผลการดำเนินงานดังกล่าวคุณภาพด้านการดูแลทั้ง3 ด้าน มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่ผ่านตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการดามกระดูก และด้านอื่นๆ ยังต้องได้รับการฟื้นฟู ความรู้ ทักษะ การดูแลมากขึ้น ทั้งงาน pre hospital care ได้มีการแบ่งระดับในการรับผู้ป่วยเป็น 3 ระดับ คือ FR, BLS, ALS โดยเครือข่ายที่ดำเนินการช่วยเหลือและเข้าถึงประชาชนที่เร็วตามการสั่งการคือ FR เพื่อให้ผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นต้องได้รับการฟื้นฟู ความรู้และทักษะในการปฎิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับ FR เพื่อการช่วยเหลือณจุดเกิดเหตุที่ถูกต้องปลอดภัย งานอุบัติเหตุ ตะหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการฟื้นฟูหน่วย First Responder ประจำปี 2567 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูความรู้และทักษะให้ผู้ปฎิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธี

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้ปฎิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นมีความรู้และทักษะการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธีไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

70.00 90.00
2 เพื่อผู้ปฎิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นเข้าใจวิธีการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างถูกวิธี ลดความสูญเสีย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : อัตราการสูญเสียชีวิต = 0

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
- แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
- จัดทำโครงการเพื่อนำเสนอ
- สำรวจจำนวนบุคลากรผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น
- ประสานขอความร่วมมือกับ สถานที่ที่จัดประชุมอบรมฟื้นฟู ห้องประชุม มูลนิธิเซิ่งหมู่
2. ขั้นดำเนินโครงการ
- จัดทำหนังสือขออนุญาติเชิญประชุม เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น
- เตรียม เอกสาร PRE TEST และ POST TEST ในการอบรม
- เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดอบรม
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการดำเนินการจัดการประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการจัดอบรมฟื้นฟูความรู้หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดอบรมฟื้นฟูความรู้หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. เตรียมอุปกรณ์ และจัดสถานที่ในการจัดการอบรม ห้องประชุมมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจสุไหงโก-ลก
2. ทำข้อสอบ pre test
3. พิธีเปิดโครงการ
4. จัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น แบ่งเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 1 วัน (40คน/รุ่น) รวม 2 วัน
5. ทบทวนการฝึกอบรมโดยฝึกสถานการณ์จำลองในภาพรวม เพื่อประเมินผลในแต่ละรุ่น
6. ประเมินความรู้หลังเรียน post test
กำหนดการ
08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน
08.45 - 09.00 น. เปิดโครงการ/ทำข้อสอบ pre test
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้บาดเจ็บเบื้องต้นตามข้อกำหนดของ สพฉ. (วิทยากรบรรยาย)
12.00 - 13.00 น. พักรับประมานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่มฝึกสถานการณ์จำลอง ฐานจำลอง 8 ฐาน (วิทยากรกลุ่ม 8 กลุ่ม ๆ ละ 1 คน)
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม 80 คน x 30 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 80 คน x 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
3. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความรู้และแบบประเมิน แฟ้มเอกสาร ปากกา จำนวน 80 ชุด x 30 บาท จำนวน 2,400 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร (วิทยากรบรรยาย ภาคทฤษฎี) 600 บาท x 3 ช.ม. x 2 รุ่น จำนวน 3,600 บาท
5. ค่าตอบแทนวิทยากร (วิทยากรกลุ่ม ภาคปฎิบัติ) 300 บาท x 8 คน x 3 ช.ม. x 2 รุ่น จำนวน 14,400 บาท
หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นได้มีการฟื้นฟูความรู้และสามารถปฏิบัติการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปฎิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นมีความรู้และทักษะการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธี
2. ผู้ปฎิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นเข้าใจวิธีการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างถูกวิธีและลดความสูญเสีย


>