กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดด้วยการแพทย์แผนไทยปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ทีมงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วง

1.นางพวงทิพย์กล้าคง
2.นางพรั่ง ชุมทอง
3.นายถาวรหนูอุ่น
4.นางเอิบอิ่มนวลเต็ม
5.นางสาวอุบลรัตน์เมืองสง

ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

30.00

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ โดยในปี 2565 การยกระดับบริการฝากครรภ์ โดยให้หญิงตั้งครรภ์ฝากก่อน 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ต่อเนื่องตามเกณฑ์ฝากครรภ์ 5 ครั้งเพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยต่อไป การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากข้อมูลของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตเทศบาลตำบลโคกม่วง พบว่า ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 0 ราย และฝากครรภ์อายุครรภ์มากว่า 12 สัปดาห์จำนวนรายแนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาอนามัยแม่และเด็ก คือ ต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ และเสริมทักษะ
การดูแลหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยร่วมกับภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง งานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตเทศบาลตำบลโคกม่วง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และดูแลมารดาหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาแพทย์พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา 54 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมืองอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ (4) ให้มีและการบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็กการดูแลมารดาหลังคลอด
ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย หรือ เรียกว่า การอยู่ไฟเมื่อหลังจากการคลอดบุตร จะทำให้ธาตุในร่างกาย ทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เกิดการเสียสมดุล โดยเฉพาะธาตุไฟ จะส่งผลให้มารดา ไม่สบายตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย หรืออาจมีอาการคัดตึงเต้านมร่วมด้วย ซึ่งการดูแลมารดาหลังคลอด เป็นการฟื้นฟูสุขภาพมารดาจะช่วยให้ ร่างกายอบอุ่น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ขับน้ำคาวปลา ลดอาการคัดตึงเต้านม ทำให้ธาตุทั้ง 4 ในร่างกายกลับมาอยู่ในภาวะสมดุลซึ่งสามารถทำดูแลมารดาหลังคลอดได้เมื่อใดมารดาคลอดธรรมชาติ(คลอดเอง) หลังจากคลอดแล้ว 7-10 วันสามารถทำได้เลย ถ้าไม่มีอาการอ่อนเพลียจากการคลอดบุตร และแผลบริเวณช่องคลอดแห้งสนิทดี
มารดาผ่าตัดคลอด สามารถทำได้หลังจากการผ่าตัดคลอดแล้ว 30 – 45 วัน หรือ จนกว่าแผลผ่าตัดจะหายและแห้งสนิทดีประโยชน์ของการดูแลมารดาหลังคลอดช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยลดอาการคัดตึงเต้านม ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดอาการอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกระชับ หน้าท้องยุบการอยู่ไฟจะได้ผลดี ต้องทำไม่เกิน 3 เดือนหลังจากคลอดบุตร การทำหลังคลอดนิยมทำ 5-10 วันต่อเนื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 มีมารดาหลังคลอดจำนวน 30 ราย มาดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวหลังคลอดมารดาหลังคลอดไม่ได้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดอันตรายหลังคลอดแต่ยังไม่เห็นความสำคัญในปฏิบัติตัวหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาแบบแผนไทยด้วยการประคบซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยลดอาการบวม ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดอาการคัดตึงเต้านม และมารดาหลังคลอดเห็นความสำคัญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแค่ 70%ในส่วนประโยชน์ของน้ำขิงสำหรับมารดาหลังคลอดช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดี รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ลดอาการคนท้องท้องอืด ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานดี ขับลมและน้ำขิงช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตน้ำนมแม่ และไขไก่หรือไข่เป็ดมารดาหลังคลอดควรรับประทานทุกวัน ประมาณวันละ 1ฟอง ซึ่งไข่ไก่มีโปรตีนมาก ธาตุเหล็กและวิตตามินเอ ในระยะให้นมบุตรแม่จำเป็นต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอเพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับบุตรและเพื่อซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของแม่ที่สูญเสียไปในการคลอด
ทีมงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กในครรภ์ เป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กในครรภ์ อีกทั้งเป็นการสืบทอดความรู้ในการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยร่วมกับภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดด้วย การแพทย์แผนไทยปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวหลังคลอดผสมผสานด้วยการแพทย์แผนไทย
  1. มารดาหลังคลอดมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวหลังคลอดผสมผสานด้วยการแพทย์แผนไทย ร้อยละ90
30.00 30.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพของทารกแรกเกิดโดยมารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

2.มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 80

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสร้างกระแสการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดแบบเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสร้างกระแสการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดแบบเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์พร้อมมารดาได้รับความรุ้ในการปฏิบัติตัวหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาแบบแพทย์แผนไทยที่ถูกต้องและส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดตระหนักถึงผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- เอกสารให้ความรู้มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด จำนวน 30 เล่มๆละ 40 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพใช้ในการดูแลมาดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด
* น้ำขิงสำเร็จรูป จำนวน 30 ถุง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
* ลูกประคบ จำนวน 30 ลูกๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
* ไข่ไก่ จำนวน 30 แผงๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดได้รับการติดตาม ประเมินภาวะสุขภาพพร้อมการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยโดยทีมเครือข่ายสุขภาพด้านแม่และเด็กของตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างกระแสการดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก กิจกรรมการประกวดหนูน้อยสุขภาพดีด้วยนมแม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างกระแสการดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก กิจกรรมการประกวดหนูน้อยสุขภาพดีด้วยนมแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดีด้วยนมแม่
  • ชุดวัสดุส่งเสริมสุขภาพวัยทารก - 6 เดือน จำนวน 16 ชุดๆละ 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มารดาหลังคลอดที่ได้รับการฟื้นฟูด้วยการแพทย์แผนไทยมีภาวะสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวดเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายหลังคลอด
2. มารดาหลังคลอด สามารถเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน


>