กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนบ้านทุ่งคลองควาย ปีงบ ๒๕๖๗

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก

1. นายสมบัติ ช่อคง
2. นางนี เลี่ยนกัตวา
3. นางดารา ทงอินทร์
4. นายวิเชียร จงรัตน์
5. นางทัศนีย์ ดำชุม

โรงเรียนบ้านทุ่งคลองควาย หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งนารี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การขาดความรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

61.00

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก จัดทำโครงการ อย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้ อย. โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
ดังนั้นเพื่อให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบ และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ และทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนนำความรู้ทักษะไปปฏิบัติ ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก จึงได้จัดทำอย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนบ้านทุ่งคลองควายปีงบ 2567 ขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย.น้อย และเพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อยได้มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

มีแกนนำอย.น้อยในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชน

61.00 61.00
2 เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชนได้

นักเรียน อย.น้อยมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับให้แก่เพื่อนนักเรียนและครอบครัว

61.00 61.00
3 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียนและชุมชนได้

นักเรียน อย.น้อยสามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อยทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

61.00 61.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 61
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้นักเรียน อย.น้อย ช่วยให้ “กินเป็น ใช้เป็น ปลอดภัย” และตรวจสอบด้านสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้นักเรียน อย.น้อย ช่วยให้ “กินเป็น ใช้เป็น ปลอดภัย” และตรวจสอบด้านสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 61 x50บาทเป็นเงิน3,050บาท -ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 61 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน2,745 -ค่าประกาศนียบัตร จำนวน 61 ใบ ใบละ 30 บาท เป็นเงิน 1,830 บาท -ค่าสมุด+ปากกา ชุดละ 20 บาท จำนวน 61 ชุด เป็นเงิน 1,220
-อุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรม“กินเป็น ใช้เป็น ปลอดภัย”จำนวน 500 บาท
-ค่าวัสดุกิจกรรมในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน1,000 บาท -ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตรๆละ เป็นเงิน 600

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีแกนนำอย.น้อยในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชน
  2. นักเรียน อย.น้อยมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับให้แก่เพื่อนนักเรียนและครอบครัว
  3. นักเรียน อย.น้อยสามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อยทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10945.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,945.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีแกนนำอย.น้อยในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชน
2. นักเรียน อย.น้อยมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับให้แก่เพื่อนนักเรียนและครอบครัว
3. นักเรียน อย.น้อยสามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อยทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>