กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประกวดกลุ่มบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

ชมรม.รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร

1.นายสุชาติ พรหมเสน
2.นายสมบัติ แก้วพิบูลย์
3. นายหรูน ฤทธิ์โต
4. นางวาสนา หมานระเก็น
5. นางอาภรณ์ เรืองดำ

หมู่ที่7 บ้านโหล๊ะหาร และหมูที่8 บ้านต้นส้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

50.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

 

20.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นโรคที่เป็นปัญหาต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับต้นๆจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรคในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554 – 2558) จังหวัดพัทลุงมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 476, 954, 1,378, 737 และ540 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 93.67, 187.73,267.87, 141.13 และ103.40 ต่อแสนประชากร ( กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อและระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ) และอำเภอป่าบอน มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง (2554 –255๘) จำนวน 38, 61 ๑๑๖, 41 และ๓๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 62.83, 133.65, ๒๕๐.๗๙, ๘๖.๔๗, และ๗๓.๘๑ ต่อแสนประชากร และยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหารซึ่งรับผิดชอบหมู่ที่ ๖ ตำบลหนองธง และหมู่ที่ ๗,๘ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง (255๔ – 255๘) จำนวน 2, 3, 7, 1, และ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 66.67, 10๑.6๖, 237.21, 33.๘๙ และ๓๑.๒๐ ต่อแสนประชากร ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก ลักษณะการระบาดของโรคกระจายไปทุกกลุ่มอายุ แต่ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุระหว่าง 5 - 14 ปี จากปัญหาดังกล่าวจึงต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยใช้หลักการควบคุมโรคที่สำคัญคือการป้องกันโรคล่วงหน้าด้วยการทำลายหรือควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ทุกสัปดาห์และครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนหนาแน่น หมู่บ้าน โรงเรียน วัด มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานบริการสาธารณสุข แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมักพบภายในหรือบริเวณบ้านส่วนมากเป็นภาชนะที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โอ่งน้ำ แจกัน ยางรถยนต์ ฯลฯ ซึ่งการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนโดยทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชน ในการรณรงค์เชิงรุกให้การกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นกิจวัตรประจำวันในแต่ละสัปดาห์
ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้สอดคล้องตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมโรค ปีงบประมาณ 2559 ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค โดยให้บ้านทุกกลุ่มบ้านมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายพร้อมกับเร่งรัดการควบคุมป้องกันโรคในทุกพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร ตำบลทุ่งนารี จึงได้จัดทำโครงการประกวดกลุ่มบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ประจำปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราความชุกของพาหะนำโรคไข้เลือดออก

ลดอัตราผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำและคณะกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำและคณะกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท
    1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5000 บาท 3.ค่าป้ายโครงการ2ป้าย 1000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะกรรมการทุกกลุ่มบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 2 ลงตรวจกลุ่มบ้าน สองครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ลงตรวจกลุ่มบ้าน สองครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเงินรางวัลกลุ่มบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 8 รางวัล เป็นเงิน13000 บาท 3.1 รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัลๆละ 4000 บาท
3.2 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1จำนวน 1 รางวัลๆละ 3000 บาท 3.3 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จำนวน 1 รางวัลๆละ 2000 บาท 3.4 รางวัลชมเชย จำนวน 4 รางวัลๆละ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มบ้านมีการตื่นตระหนักและร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
2. กลุ่มบ้านมีดำเนินกิจกรรมควบคุมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง


>