กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเครือข่าย อสม.ร่วมใจตรวจคัดกรองป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2567่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

เครือข่าย อสม.ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

เครือข่าย อสม. ตำบลตะปอเยาะ
1.นางยุสนิงอาแว ประธาน อสม. ม.1
2.นางสารีพะ สะนอประธาน อสม. ม.2
3.นางศิริวิมลแวอูเซ็ง ประธาน อสม. ม.3
4.นางนือรือมีเลาะยา ประธาน อสม. ม.4
5.นางมารีดะ แวกะบีลา ประธาน อสม. ม.5

ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่ตำบลตะปอเยาะ ซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต เท้า หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้นอุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนือง และยาวนานมีความใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูงมา ในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงยิ่งมีการคัดกรองเพิ่มสูงขึ้น ก็จะพบกลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนวทางการแก้ไข จะต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยตั้งแต่การคัดกรอง และทำการจัดกลุ่มของกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงป่วย ในกลุ่มป่วย ต้องดำเนินการให้การรักษา จะต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม แต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอจึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ดังนั้นเครือข่าย อสม. รวมใจตำบลตะปอเยาะ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในชุมชนให้ได้มากที่สุด โดยทีมงาน อสม. และเครือข่ายในการดำเนินงานไปตรวจคัดกรองเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. เพื่อให้ อสม.มีความรู้เรื่องการคัดกรองและการใช้เครื่องตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการป้องกันโรคเรื้อรังได้ถูกต้อง
3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
4. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1,500
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูการคัดกรองและการใช้เครื่องตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการป้องกันโรคเรื้อรังแก่เครือข่าย อสม.ตำบลตะปอเยาะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูการคัดกรองและการใช้เครื่องตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการป้องกันโรคเรื้อรังแก่เครือข่าย อสม.ตำบลตะปอเยาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูการคัดกรองและการใช้เครื่องตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการป้องกันโรคเรื้อรัง
1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมจำนวน 105 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน7,350 บาท 2. อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 105 คนๆ ละ 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 7,350 บาท รวมเป็นเงิน 14,725 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่าย อสม.มีความรู้เรื่องการคัดกรองและการใช้เครื่องตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการป้องกันโรคเรื้อรัง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 2 อสม.ลงพื้นที่คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานทั้งหมด5 หมู่บ้าน หมู่ละ 3 วัน ในตบลตะปอเยาะ

ชื่อกิจกรรม
อสม.ลงพื้นที่คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานทั้งหมด5 หมู่บ้าน หมู่ละ 3 วัน ในตบลตะปอเยาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 อสม.ลงพื้นที่คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชนครอบคลุม ทั้ง5 หมู่บ้าน หมู่ละ 3 วัน 1. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่องๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกิจกรรมคัดกรองครอบคลุมทั้ง 5 หมู่บ้านจำนวน 105 คนๆ ละ 3 วันๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 11,025 บาท รวมเป็นเงิน 21,025 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย ร้อยละ 95 2.กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 80 ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21025.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เครือข่าย อสม.มีความรู้เรื่องการคัดกรองและการใช้เครื่องตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการป้องกันโรคเรื้อรัง ร้อยละ 100
2.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย ร้อยละ 95
3.กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 80 ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง


>