กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบูกิ๊ตจือแร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบูกิ๊ตยือแร ในเขตพื้นที่รับผิดชอบหมู่.7 และหมู่ 9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็กแรกเกิดถึงช่วงอายุ5 ปีเป็นช่วงระยะเวลาที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์ นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็วแล้วสมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วยซึ่งนอกจากปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก เช่นพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่แล้ว สิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงดูโดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็กผ่านการเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและการติดตามพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัยเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจะละเลยไม่ได้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและมีคุณภาพต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบูกิ๊ตยือแรในปี 2566 จากการได้คัดกรองโภชนาการเด็ด 0-5 ปี ไตรมาสที่ 4จากจำนวนเด็กทั้งหมด 181 คน จะเห็นได้ว่า พบว่าเด็กมีปัญหา อ้วน ร้อยละ 3.09 % เตี้ย 12.27 % และ ผอม 5.06 % รวมถึง สุขภาพภายในช่องปากของเด็กในพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะฟันผุมากขึ้น และการได้รับวัคซีนของแต่ละกลุ่มวัยที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเริ่มน้อยลง เพราะผู้ปกครองหรือผู้ดูแลไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพของเด็กมากนักยังคงเป็นปัญหาสำหรับกลุ่มวัย 0- 5 ปี สำหรับปัญหาทั้ง 3 ด้านนี้ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความตระหนัก ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ดูแล ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อที่สามารถทำอาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน และสามารถส่งเสริมให้บุตรมีพัฒนาการตามวัยได้ ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็ก มีความเข้าใจในเรื่องของการได้รับวัคซีนสำหรับเด็กแต่ละช่วงอายุที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน จากปัญหาดังกล่าวต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เสริมสร้างเด็กในพื้นที่มีสุขภาพที่ดีอย่างองค์รวม
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตยือแร จึงได้จัดทำโครงการแก้ไข ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ควบคู่กับการติดตามวัคซีน และการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับงานโภชนาการดี สุขภาพฟันดี และวัคซีนครบตามวัย

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง.มีความรู้ในการส่งเสริมงานโภชนาการให้กับเด็ก

80.00 1.00
2 เพื่อให้เด็กในพื้นที่มีโภชนาการดี สุขภาพฟันดี และวัคซีนครบตามวัย

ร้อยละ 80เด็กในพื้นที่มีโภชนาการดี สุขภาพฟันดี และวัคซีนครบตามวัย

80.00 1.00
3 เพื่ออัตราความครอบคลุมงานโภชานาการ สุขภาพฟัน การได้รับวัคซีน

 

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมงานโภชนาการดี สุขภาพฟันดีและวัคซีนครบตามวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมงานโภชนาการดี สุขภาพฟันดีและวัคซีนครบตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ผู้ปครอง เรื่อง โภชาการ พัฒนาการ วัคซีนตามวัย และสุขภาพฟันดี 1.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.2*2.4 ตร.ม จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 800 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองจำนวน 50 คน ๆ ละx 60 บาท/มื้อx 2วัน เป็นเงิน 6,000บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 x 2 มื้อ x 2 วัน บาท/มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท 4.ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 x 6 ชั่วโมง x 2 วันเป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฎิบัติการดูแลสุขภาพเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฎิบัติการดูแลสุขภาพเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและเด็กจำนวน 100คน ๆ ละx 60 บาท/มื้อx 2วัน เป็นเงิน 12,000 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและเด็ก จำนวน 100 คน ๆ ละ 30 x 2 มื้อ x 2 วัน บาท/มื้อ เป็นเงิน 12,000บาท 4.ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 x 6 ชั่วโมง x 2 วันเป็นเงิน 7,200บาท
5.ชุดอุปกรณ์แปรงฟัน 100 ชุด ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 7,000บาท 6.เครื่องชั่งน้ำหนัก 2 คริ่อง เครื่องละ 1,000 เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก 0-5 ปีได้รับการส่งเสริมให้ภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 5 ด้าน
2.เด็ก 0- 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและตรวจประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการ
3 เด็ก 0- 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและตรวจประเมินภาวะสุขภาพช่องปากและการติดตามวัคซีน
3.เด็กที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติและเด็กที่มีพัฒนาการช้าได้รับการติดตาม กระตุ้น และประเมิน ภาวะโภชนาการและตรวจพัฒนาการซ้ำ ให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย
4.ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี สุขภาพช่องปาก ได้อย่างถูกต้อง


>