กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะป้องกันและแก้ไขปัญหาในวัยรุ่น ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางพนิดา วรรณวงศ์ หัวหน้างานจิตเวช โทร. 066-0940294

ณ ห้องประชุมโรงเรียนสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงต่อของวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ซึ่งจากสภาพแวดล้อมทางสังคม ครอบครัว และเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีในปัจจุบัน นับเป็นวิกฤติในช่วงพัฒนาการของชีวิตที่วัยรุ่นต้องเผชิญ ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มของสถานการณ์ปัญหาที่พบในวัยรุ่น ทั้งปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ปัญหาการใช้สารเสพติดและบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ แต่เยาวชนซึ่งมีสิทธิในการรับบริการ มักไม่เข้าหรือเข้าไม่ถึงบริการ อาจเกิดจากการขาดข้อมูล หรือไม่กล้าเข้ารับบริการ
ในอำเภอสุไหงโก-ลก พบว่า ร้อยละการคลอดโดยมารดาอายุ 15-19 ปี ต่อการคลอดทั้งหมด ในปี 2564 คิดเป็น ร้อยละ 11.5 ในปี 2565 ร้อยละ 11.47 ในปี 2566 คิดเป็น ร้อยละ 10.89 ซึ่งการตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อมจะส่งผลเสียต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมารดาหรือทารกและความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาโรคซึมเศร้าที่พบในปี 2564-2566 ดังนี้ ปี 2564 จำนวน 24 คน ปี 2565 จำนวน 32 คน ปี 2566 จำนวน 35 คน ส่วนปัญหายาเสพติดในอำเภอสุไหงโก-ลกที่พบในปี 2564-2566 พบดังนี้ ปี 2564 จำนวน 59 คน ปี 2565 จำนวน 72 คน ปี 2566 จำนวน 84 คน ตามลำดับ ซึ่งหากมีการเสพและใช้ในระยะยาวจะส่งผลต่อปัญหาจิตเวชและยาเสพติดตามมาได้ กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวชได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว เพื่อป้องกันก่อนเกิดปัญหา จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะป้องกันและแก้ไขปัญหาในวัยรุ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรู้และทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นด้วยตัวเอง

วัยรุ่นมีความรู้และทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นด้วยตัวเองมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นสามารถให้ความช่วยเหลือและส่งต่อเพื่อนที่มีปัญหาได้

วัยรุ่นสามารถให้ความช่วยเหลือและส่งต่อเพื่อนที่มีปัญหาได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 240
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการทักษะป้องกันและแก้ไขปัญหาในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการทักษะป้องกันและแก้ไขปัญหาในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 240 คน , คณะทำงาน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
- ประชุมทีมงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการวางแผนการดำเนินงาน
- จัดทำแผนงานโรงการ
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เชิญวิทยากร
- แจ้งจัดซื้อ จัดจ้างวัสดุ ที่หน่วยงานพัสดุ
2. ขั้นดำเนินการ
- จัดทำเอกสารที่ให้ในการอบรม เช่น Pre-Post Test
- อบรมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะป้องกันและแก้ไขปัญหาในวัยรุ่น ระยะเวลาการอบรม 3 วัน
3. สรุปและประเมินผลโครงการ
กำหนดการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะป้องกันและแก้ไขปัญหาในวัยรุ่น ณ โรงเรียนสุไหงโก-ลก จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 80 คน
08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน
08.45 - 09.00 น. พิธีเปิด โดย นายเจริญจันทร์ทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุไหงโก-ลก
09.00 - 12.00 น. หัวข้อ รู้จักกัน / ความคาดหวัง โดย วิทยากรกลุ่ม 3 คน
หัวข้อรู้ทางเลือกที่ปลอดภัยโดย วิทยากรกลุ่ม 3 คน
หัวข้อรู้ทันก่อนเลือกโดย วิทยากรกลุ่ม 3 คน
หัวข้อชีวิตมีทางเลือกโดย วิทยากรกลุ่ม 3 คน
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. หัวข้อผลกระทบจากการเสพยาสูบและยาเสพติด วิทยากรกลุ่ม 3 คน
14.00 - 15.00 น. หัวข้อทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า วิทยากรกลุ่ม 3 คน
15.00 - 16.00 น. หัวข้อคัดกรองและช่วยเหลือผู้เสพยาสูบและยาเสพติด วิทยากรกลุ่ม 3 คน
16.00 - 16.30 น. สรุปประเด็นปัญหา
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 90 คน x 2 มื้อ x 3 รุ่น เป็นเงิน 16,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 90 คน x 1 มื้อ x 3 รุ่น เป็นเงิน 16,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท/ชม. x 6 ชม. x 3 วัน x 3 คน เป็นเงิน 16,200 บาท
4. ค่าวัสดุได้แก่ วัสดุสำนักงานที่ต้องใช้ในกิจกรรมกลุ่ม ปากกา สมุด กระดาษ เป็นต้น 3,000 บาท x 3 รุ่น เป็นเงิน 9,000 บาท
5. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะป้องกันและแก้ไขปัญหาในวัยรุ่น 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครือข่ายในการดำเนินงานวัยรุ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,800.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวทุกรายการและจำนวนคนภายในวงเงินที่ได้รับ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.วัยรุ่นมีความรู้และทักษะการดูแลตนเองห่างไกลจากปัญหาของวัยรุ่น
2. วัยรุ่นสามารถให้ความช่วยเหลือและส่งต่อเพื่อนที่มีปัญหาได้


>