กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกกลาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้เรืองการคัดแยกขยะ ลดปริมาณขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกกลาง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง

1. นางสุกัญญา อภัยจิตร
2. นายสมหมายดำดี
3. นางสาววัชรีดีต่อ
4. นายภิรมย์ สุดตาซ้าย

16 หมู่บ้าน ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

80.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

77.75
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

92.11

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

80.00 65.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

77.75 80.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

92.11 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 300
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรม  ตัวแทนครัวเรือนหมู่บ้านละ 20 คน x 16 หมู่บ้าน  รวม 320 คน  โดยแบ่งอบรมเป้น 2 รุ่นๆ ละ 160 คน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. คัดเลือกตัวแทนครัวเรือน หมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน เพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบการคัดแยกขยะ และจัดการขยะเปียก อย่างถูกวิธี
2. จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะและจัดการอย่างถูกวิธี โดยจัดอบรม 2 รุ่นละ 160 คน
3. สาธิตการทำถังรักษ์โลก ขยะเปียก
4. สรุปผลการดำเนินงาน และทำทะเบียนข้อมูลครัวเรือนต้นแบบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรมสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี และสามารถทำถังขยะเปียกจากวัสดุที่มีใช้ในครัวเรือน
  2. เกิดครัวเรือต้นแบบทำถังขยะขยะเปียก 320 ครัวเรือน
  3. ในแต่ละหมู่บ้านมีการทำถังขยะสำหรับทิ้งขยะอันตรายประจำหมู่บ้าน และมีระบบการสนับสนุนการจัดเก็บขยะอันตราย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 2 Big Cleaning Day ทำบ้านให้สะอาด จัดการขยะให้ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
Big Cleaning Day ทำบ้านให้สะอาด จัดการขยะให้ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายดำเนินงาน  ผู้นำชุมชน  อสม. อปพร. จิตอาสา ประจำหมู่บ้านๆ ละ 20-30 คน รวมทุกหมู่บ้าน 320 คน
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประชาสัมพันธ์ให้ทุกหมู่บ้านร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2566
2. ทุกหมู่บ้านร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน เช่น การตัดกิ่งไม้/ต้นไม้ที่บดบังสายตาบริเวณสองข้างทางในหมู่บ้าน การตัดวัชพืช การเก็บขยะและคัดแยกขยะ และการกวาดทำความสะอาดถนนภายในหมุ่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดจิตอาสาในชุมชน ที่ร่วมกันทำความดีเพื่อพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยหมู่บ้านละไม่น้อยกว่า 20 คน
  2. ทุกหมู่บ้านได้รับการพัฒนาทำความสะอาดและเป็นระเบียบน่ามองมากขึ้น
  3. ผู้นำชุมชน อปพร. อสม. และจิตอาสาชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสามัคคีภายในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 ทำถังขยะเปียกประจำบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ทำถังขยะเปียกประจำบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายดำเนินงาน  ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะ หมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน 16 หมู่บ้าน รวม 320 ครัวเรือน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. สนบัสนุนวัสดุอุปกรณ์ทำถังขยะเปียก "ถังรักษ์โลก" หรือหาวัสดุเหลือใช้มาจัดทำเป็นถังขยะเปียกประจำบ้าน
2. ครัวเรือนต้นแบบขุดและฝังขยะเปียกประจำบ้าน
3. กรรมการชุมชนร่วมกันออกตรวจเยี่ยมการทำถังขยะเปียกประจำบ้าน ตรวจสอบและให้คำแนะนำที่ถูกวิธี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครัวเรือนต้นแบบมีการจัดทำถังขยะเแียกประจำบ้านครบ 320 ครัวเรือน ทุกครัวเรือน
  2. ครัวเรือนต้นแบบมีการคัดแยกและมีการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างถูกวิธี
  3. ครัวเรือนต้นแบบสามารถอธิบายการคัดแยกและจัดการขยะได้
  4. มีการร่วมกลุ่มเพื่อดำเนินการคัดแยกและจัดการขยะ เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ภายในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แต่ละหมู่บ้านมีระบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธี มีครัวเรือนต้นแบบ มีการร่วมกลุ่มจัดการขยะ หมู่บานสะอาดน่าอยู่น่ามอง
2. เกิดครัวเรือนต้นแบบเป้นแบบอย่างการคัดแยกและจัดการขยะอย่างถูกวิธี สามารถถ่ายทอดความรู้ได้
3. ทำให้เกิดกลุ่มผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ทำงานพัฒนาและงานจิตอาสาอื่น


>