กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ

ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด (คน)

 

65.00

เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ปัญหาการก่อการร้ายในบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาอุทกภัย ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดฯลฯ โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดนั้น นับได้ว่ามีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และเป็นปัญหาระดับชาติ เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลให้ภาครัฐและประชาชนร่วมกันแก้ไข ซึ่งในขณะนี้แม้กระทั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานทุกภาคส่วน จะได้พยายามเร่งระดมสรรพกำลังและทรัพยากรด้านต่างๆ ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ก็ปรากฎได้ว่าความพยายาม ดังกล่าวได้ผลเพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจาการปฏิบัติมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองและชุมชนหนาแน่น รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการและมั่วสุมต่างๆ เช่น ร้านเกมส์ อินเตอร์เน็ตและสถานที่ลับตาผู้คน ฯลฯ ประชากรกลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา ตลอดจนผู้ใช้แรงงานและผู้ว่างงาน อีกทั้งผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งผู้ค้าและผู้เสพ และเพื่อเป็นการมุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่ยังมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอได้ตระหนักถึงความรุนแรง และผลกระทบของปัญหายาเสพติดระยะยาวซึ่งอาจจะหวนกลับมาแพร่ระบาดเข้าไปสู่กลุ่มอื่นๆ อีก ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้เป็นเรื่องยากในการที่จะดำเนินการแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

50.00 50.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดประชาชนในพื้นที่

ประชาชนในพื้นมีความตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันยาเสพติดและเเก้ไขปัญหายาเสพติด

50.00 50.00
3 เพื่อสร้างความเข้มเเข็งภายในชุมชน

เครือข่ายแกนนำให้ความร่วมมือในการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่

45.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเสนอเพื่ออนุมัติดำเนินการ 2.ประสานงานสถานที่ฝึกอบรมและวิทยากร 3.ประสานผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ 4.ดำเนินการจัดกิจกรรม 5.สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน

งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 กล่องๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท
3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
4.ค่ากระเป๋าพร้อมอุปกรณ์เครื่องเขียนจำนวน65 ชุดๆละ 85 บาท เป็นเงิน 5,525 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : จำนวนแกนนำเเละประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 65 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : เเกนนำและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16275.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด โดยเเบ่ง จำนวน 11 กลุ่มดังนี้ 1.กระดาษบรู๊ฟ (proof) จำนวน 22 เเผ่นๆละ 15 บาท เป็นเงิน 330 บาท
2.ปากกาเคมี (สีแดง,สีน้ำเงิน,) จำนวน 22 แท่งๆละ 15 บาท เป็นเงิน 330 บาท
3.สีเทียน จำนวน 11 กล่องๆละ 55 บาท เป็นเงิน 605 บาท 4.โพสอิท จำนวน6กล่องๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 270 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : จำนวนแกนนำเเละประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 65 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : เเกนนำและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1535.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ
1.ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : จำนวนแกนนำเเละประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 65 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : แกนนำเเละประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้จากป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,560.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
2.ประชาชนในพื้นมีความตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันยาเสพติดและเเก้ไขปัญหายาเสพติด
3.การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนลดน้อยลง


>