กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง

นางสาวสุทธิมา พิชัยวงศ์ธรรมา

ในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและเครือข่ายกระบวนการเยี่ยมบ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเยี่ยมบ้าน ชี้แจงรายละเอียด อธิบายรูปแบบกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มิถุนายน 2566 ถึง 12 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้คณะทำงานและเครือข่ายกระบวนการเยี่ยมบ้าน เตรียมความพร้อมก่อนเยี่ยมบ้าน ชี้แจงรายละเอียด อธิบายรูปแบบกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมโภชนาการ เป็นฐานให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ในกิจกรรม “ครอบครัวโภชนาการ” แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 40 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2566 ถึง 13 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้ความรู้เรื่องการส่งเสริมโภชนาการ เป็นฐานให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ในกิจกรรม “ครอบครัวโภชนาการ”

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กกลุ่มเป้ามาย จำนวน 40 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2566 ถึง 22 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กกลุ่มเป้ามาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ โดยมีแผนเยี่ยม 4 ครั้งดำเนินงานดังนี้
                         ครั้งที่ 1 สร้างสัมพันธภาพ รับฟังพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์  วิธีการในการเลี้ยงดูบุตร ซักถาม และรับฟังปัญหา ความต้องการ สุ่มตัวอย่างอาหารเพื่อประเมินปริมาณอาหารของเด็กที่รับประทานในแต่ละมื้อ และการวัดลักษณะทางกายภาพของเด็ก ทำแบบประเมินความรู้และการปฏิบัติการด้านโภชนาการ (pre-test) โดยใช้แบบสอบถาม ที่จัดทำขึ้นโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มอ.ปัตตานี และวางแผนช่วยเหลือครอบครัว
                         ครั้งที่ 2 ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาน้ำหนักน้อย สอบถามข้อมูลการรับประทานอาหารเป็นรายกรณี ประเมินปัญหา มีการส่งต่อเพื่อให้เด็กได้รับการรักษาต่อในรายจำเป็น                           ครั้งที่ 3 การเยี่ยมเสริมพลังสร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครอง ร่วมกันแก้ไขปัญหาสอบถามข้อมูลการทำอาหารจากวัตถุดิบที่ได้รับการสนับสนุน สุ่มตัวอย่างอาหารเพื่อประเมินปริมาณอาหารของเด็กที่รับประทานในแต่ละมื้อ ติดตามความก้าวหน้าของภาวะโภชนาการ และบันทึกกิจกรรม                           ครั้งที่ 4 ประเมินผล และแจ้งผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้ผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมินความรู้และการปฏิบัติการด้านโภชนาการ (post-test)

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ดำเนินการเยี่ยมบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/จัดหน่วยบริการคลินิกอาสาสมัครเคลื่อนที่เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
        1 แจกจ่ายอาหารเสริมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์         2 ติดตามและบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงรวมระยะเวลา 8 สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เด็กอายุ 0 -72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
2 เด็กอายุ 0-72 เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับดูแลและแก้ไขปัญหา
3.ผู้ปกครอง ชุมชน ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร
4.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารตามวัย ของเด็ก 0-72 เดือน


>