กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กนักเรียนมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารในโรงเรียน

 

89.00

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้จัดทำโครงการอย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ปี 2567 โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภค ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้ อย.โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ทั้งนี้ยังสามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน
ดังนั้นเพื่อให้นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนาเสมียน และมีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประกอบกับ อย.น้อย จะมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียนการทำหน้าที่ ทำให้การทำงานบางครั้งไม่ต่อเนื่อง เพราะขาดความรู้และทักษะที่จะนำไปปฏิบัติ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน จึงได้จัดทำโครงการอย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ปี 2566 ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย. น้อย เพื่อให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของเด็กนักเรียนมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารในโรงเรียน

100%

86.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 115
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 16 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30 บาท = 480 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 15 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อว่างแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
480.00

กิจกรรมที่ 2 2. ประชุมชี้แจงคัดเลือกตัวแทน อย.น้อยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
2. ประชุมชี้แจงคัดเลือกตัวแทน อย.น้อยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 2.5 เมตร = 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้มีการประชุมชี้แจงคัดเลือกตัวแทน อย.น้อยในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 3. อย.น้อยในโรงเรียนใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารและการใช้ชุดทดสอบโคลีฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI-2)

ชื่อกิจกรรม
3. อย.น้อยในโรงเรียนใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารและการใช้ชุดทดสอบโคลีฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร (SI-2)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดทดสอบโคลีฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 1 ชุด ๆละ 1,000 บาท = 1,000 บาท
  2. ค่าชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคสนาม( อ.11) จำนวน 1 ชุด ๆละ 1,000 บาท =1,000 บาท
  3. ค่าชุดอุปกรณ์ทดสอบไอโอเดทในเกลือเสริมไอโอดีน ( I -Kit)จำนวน 1 ชุด ๆละ 500 บาท = 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อย.น้อยสามารถใช้ชุดทดสอบสารโคลีฟอร์มแบคทีเรีย ชุดทดสอบคุณภาพน้ำภาคสนาม และการใช้ชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือไอโอดีน (I-Kit)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 4 เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมแกนนำนักเรียน จำนวน 115 คน (นักเรียนชั้นป.5 และ ป.6 โรงเรียนบ้านท่าคลองและโรงเรียนบ้านม้างอน)
    • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 115 คน x 30 บาท เป็นเงิน 3,450 บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารคู่มือ อย.น้อย จำนวน 115 ชุดๆ 25 บาท เป็นเงิน 2,875 บาท
    • ค่าปากกา จำนวน 115 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 575 บาท



    1. สุ่มตรวจตัวอย่างอาหาร น้ำ ภาชนะ ผู้สัมผัสอาหาร น้ำแข็ง จำนวนตัวอย่างละ 5 ตัวอย่าง รวมเป็น 20 ตัวอย่าง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้มีการอบรมแกนนำ อย.น้อย และสุ่มตรวจตัวอย่างอาหาร น้ำ ภาชนะ ผู้สัมผัสอาหาร น้ำแข็ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8700.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินผลแกนนำ อย.น้อย ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลแกนนำ อย.น้อย ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเกียรติบัตรพร้อมเข็ม อย.น้อย จำนวน 115 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 11,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียนด้านอาหารปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,680.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กนักเรียนมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารในโรงเรียน


>