กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างเสริมภูมิกันโรคและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของ รพ.สต.บ้านลำชิง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง

พื้นที่หมู่ที่1,2,5,8 ต.คลองทราย อ.นาทวี จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

 

92.31
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

25.00

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในหน่วยงานราชการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านวิชาการและเทคโนโลยีการป้องกันและควบคุมโรคของประเทศและระดับนานาชาติ กรมควบคุมโรค เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า แม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆ ปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย การรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดาย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่าง ความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่า เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย
เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบาดที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชานแดนภาคใต้ และมีการระบาดในพื้นที่ตำบลใกล้เคียง เช่นโรคหัด และ โรคคอตีบ ซึ่งพบว่าที่ป่วยเป็นโรคส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ และในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง พบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0– 5 ปี ต่ำกว่าเกณฑ์ จากผลการดำเนินงานในปี 2566 ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมันและคอตีบ,บาดทะยัก,ไอกรน (MMR,DTP4) เด็กอายุ 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 92.31พบว่าความครอบคลุมของวัคซีนที่มีการระบาดต่ำกว่า ร้อยละ 95ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองบางส่วนไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน ไม่สนใจลืมวันที่นัดฉีดวัคซีน และอาสาสมัครสาธารณสุขไม่มีส่วนร่วมในการค้นหาและติดตามเด็ก ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนเพื่อค้นหาและนำเด็กที่รับบริการวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดมารับบริการให้ครบตาม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ที่กำหนด

1.เด็ก 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มากกว่าร้อยละ 95

95.00
2 2.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีทักษะความเข้าใจในเรื่องวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก0-5ปี พัฒนาการตามวัย และมีการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด

 

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย เกิดตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

2.ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

0.00
4 4.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทั้ง 5 ด้าน

3.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 86

86.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 111
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนการวางแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการวางแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ

2.ประสานและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ

3.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย

4.วิเคราะห์ข้อมูลการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานของเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ เพื่อคัดแยกกลุ่มที่ยังได้วัคซีนไม่ครอบคลุม และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์แล้ว พร้อมจัดทำรายชื่อแยกตามหมู่บ้านให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ

2.มีโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล

3.มีข้อมูลการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานของเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนให้ครอบคลุม ให้กับผู้ปกครอง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนให้ครอบคลุม ให้กับผู้ปกครอง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนให้ครอบคลุม ให้กับผู้ปกครอง และอาสาสมัครสาธารณสุข โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้

  1. โรคที่สามารถควบคุมได้ด้วยวัคซีน
  2. ความสำคัญของการที่ต้องได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์
  3. แผนการให้วัคซีนของหน่วยงานและแผนการติดตามเด็กที่ขาดนัด
  4. เรื่่องส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทั้ง 5 ด้าน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 70 คนๆละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 70 คน ๆ ละ 30 บาท/มื้อ X 2 มื้อเป็นเงิน4,200 บาท

  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.4เมตร เป็นเงิน500บาท

  • ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 70 เล่ม ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 700 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชมๆ.ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท

  • ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เป็นเงิน 6,800 บาท (สไลเดอร์เด็กเล็ก,บล็อกหยอด รูปทรงเรขาคณิตไม้,ของเล่นไม้ชุดเครื่องดนตรี,ม้าโยก)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย เกิดตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และนำบุตร หลาน มารับวัคซีนตามเกณฑ์
2.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีทักษะความเข้าในเรื่องวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก0-5ปี พัฒนาการตามวัย และมีการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด 3.ผู้ปกครองเด็กให้ความสำคัญรู้วิธีการคัดกรองส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 5 ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่ขาดนัดทุกเดือน เพื่อกระตุ้นติดตามให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกรายที่ขาดนัด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่ขาดนัดทุกเดือน เพื่อกระตุ้นติดตามให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกรายที่ขาดนัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่ขาดนัดทุกเดือน เพื่อกระตุ้นติดตามผู้ปกครองให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกรายที่ขาดนัด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินผลการดำเนินงาน

  1. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กเล็กก่อนวัยเรียนอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 95

  2. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

  3. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 86

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กเล็กก่อนวัยเรียนอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 95
2.ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3.ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย เกิดตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และนำบุตร หลาน มารับวัคซีนตามเกณฑ์
4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีทักษะความเข้าในเรื่องวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก0-5ปี พัฒนาการตามวัย และมีการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด
5.ผู้ปกครองเด็กให้ความสำคัญรู้วิธีการคัดกรองส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 5 ด้าน
6.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 86


>