กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนวัดคลองแห สะอาดตา ไร้แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแห

1.นายยุทธศักดิ์ ดวงสุวรรณ

2.นายไพโรจน์ พัฒนพงษ์

3.นายพิชัย สังข์น้อย

4.นายสุธาสินี ฤทธิวงค์

5.นางสาวปุณณิกา สาวิโรจน์

ชุมชนวัดคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

200.00
2 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

2.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

12.30
4 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

23.60

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหารโรคจากสัตว์แมลงนำโรค เช่น ไข้เลือดออก โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งปัจจุบันในชุมชนวัดคลองแห มีปริมาณขยะจากครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น โดยมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน จะเห็นได้จากขยะมูลฝอยตามหมู่บ้าน มีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ,ขยะอันตราย เช่นขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และขยะเปียกซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ ตลอดจนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนประกอบกับในปี 2567 ตำบลคลองแหเป็นพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกสูงเป็นลำดับต้นๆของจังหวัดสงขลา ดังนั้นเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก หรือโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่ จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะให้ถูกสุขลักษณะเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย และการป้องกันโรคโดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชนภายใต้ความร่วมมือของชุมชนในการคัดแยก และกำจัดขยะอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้

ชุมชนวัดคลองแห จึงมีความประสงค์จัดทำโครงการชุมชนวัดคลองแห สะอาดตา ไร้แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง และอันตรายจากสัตว์มีพิษ พร้อมทั้งให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ปัญหาที่เกิดจากการสะสมขยะ แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านขยะเพื่อลดปริมาณขยะจากต้นทาง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นระเบียบของชุมชน ทั้งยังสามารถป้องกันการเป็นแหล่งของพาหะเชื้อโรคต่างๆในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

200.00 180.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

2.00 4.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

12.30 25.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

23.60 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนทำงานในการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนทำงานในการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 6 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

ค่าจัดทำไวนิล ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 3 ผืนๆละ 675 บาท รวมเป็นเงิน 2,025 บาท

ค่าถ่ายเอกสาร ประชาสัมพันธ์ และใบสมัครเข้าร่วม 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ทราบว่ามีโครงการในพื้นที่

ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2325.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องขยะ ปลอดโรค บ้านเรือนสะอาด ผู้อยู่อาศัยสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องขยะ ปลอดโรค บ้านเรือนสะอาด ผู้อยู่อาศัยสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

อบรมให้ความรู้เรื่อง ขยะปลอดโรค บ้านเรือนสะอาด ผู้อยู่อาศัยสุขภาพดี

การจัดการขยะลดแหล่งเชื้อโรคอย่างถูกวิธี

ขยะมีคุณค่า พืชเจริญเติบโต ผู้คนปลอดสารเคมี

งบประมาณ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

ค่าไวนิล ขนาด 1.5 x 3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

อุปกรณ์สาธิตในการคัดแยกขยะ เช่น ถุงขยะ เชือกมัดปาดถุง ถังขยะตามประเภทของขยะ เป็นต้น รวมเป็นเงิน 6,300 บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ (กระดาษ A4,กระดาษสี,น้ำหมึกเครื่องปริ้น,แฟ้มใส่เอกสาร,ปากกา เป็นต้น) เป็นเงิน 2,000 บาท

อุปกรณ์การทำปุ๋ยแบบฝังดิน

1.ถังพลาสติกทำปุ๋ยฝังดินไว้ปลูกต้นไม้ จำนวน 50 ใบ ใบละ 100 บาท 5,000 บาท

2.ดินอเนกประสงค์ 50 กระสอบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

3.เมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง

ลดปริมาณขยะในชุมชน

ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และสัตว์อันตรายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30875.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม และประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 30 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามผลการดำเนินโครงการ และประเมินผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปการดำเนินโครงการและคืนข้อมูลให้ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปการดำเนินโครงการและคืนข้อมูลให้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

ค่าจัดทำเอกสารรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานสรุปโครงการ และส่งรายงานสรุปแก่่กองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง

ลดปริมาณขยะในชุมชน

ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และสัตว์อันตรายในชุมชน


>