กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารดี ไม่มีสารตกค้างชุมชนวัดคลองแห

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแห

1.นายยุทธศักดิ์ ดวงสุวรรณ

2.นายไพโรจน์ พัฒนพงษ์

3.นายพิชัย สังข์น้อย

4.นายสุธาสินี ฤทธิวงค์

5.นางสาวปุณณิกา สาวิโรจน์

ชุมชนวัดคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

28.20
2 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

13.60

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารที่บริโภคนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนหรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณมากกว่าที่กำหนดก็ย่อมทำให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภคได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีไม่เจ็บป่วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง ให้ความรู้และแนวทางแก่ประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างทั่วถึง คลอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้
ดังนั้นทางคณะกรรมการชุมชนวัดคลองแห ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเรียนรู้อาหารปลอดภัย ห่างไกลโรคขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาหารในครัวเรือนได้และเพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชนให้มากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

13.60 20.00
2 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

28.20 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2567 ถึง 9 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงานโครงการ

แบ่งหน้าที่การรับผิดชอบการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย

-ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน 1,500 บาท

-ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องอาหารปลอดภัย ชีวีมีสุข ห่างไกลสารตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องอาหารปลอดภัย ชีวีมีสุข ห่างไกลสารตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าไวนิลโครงการ เป็นเงิน 750 บาท

-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าวิทยากรกลุ่มเชิงปฎิบัติการ จำนวน 3 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

-ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

-ค่าเช่าสถานที่ และเครื่องขยายเสียง 2,000 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 3,500 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตการทำเมนูอาหารปลอดภัย ห่างไกลโรค 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2567 ถึง 13 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการบริโภคอย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23200.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2567 ถึง 28 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

ค่าจัดทำรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่มๆละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการ และส่งรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการแก่กองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสารตกค้างในอาหาร

2.ประชาชนได้รับความรู้ ความสามารถในการประกอบอาหาร และรับผระทานอาหารที่เหมาะสม ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

3.ประชาชนในชุมชนตระหนักรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย และลดการรับประมานอาหารขยะ (Junk Food)


>