กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. นางจิตติมา บัวหอม เบอร์โทร. 082-4370631

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-4ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการสงสัยล่าช้า

 

5.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

15.00

ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก คือตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปี ให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กปฐมวัยไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เด็กจึงควรได้รับการดูแลด้านโภชนาการและสุขลักษณะที่ดี การพัฒนาสมองของเด็กขึ้นอยู่กับอาหาร พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สมองจึงจะพัฒนาได้เต็มศักยภาพ ดังคำกล่าว "เด็กฉลาด ชาติเจริญ" ภาวะโภชนาการมีความสําคัญต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงวัยที่สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กอายุ 3-5 ปี หรือช่วงปฐมวัย มักจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารอันเนื่องมาจากสาเหตุการสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากกว่า และเด็กไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นปัจจัยหลักที่มีความสําคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กก่อนวัยเรียน เพราะอาหารทําให้ร่างกายเจริญเติบโต สมวัย การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในทุกมื้อ จะทําให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีภาวะโภชนาการที่ดี และในทางตรงข้ามถ้าเด็กรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนกับความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อ จะทําให้ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย หรือทําให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงมีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้า ผู้ปกครองและเด็กสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ทางมือถือได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันข้อมูลข่าวสารเหล่านี้อาจจะไม่ได้รับการกลั่นกรอง การรับข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น Fast food ทําให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น เด็กปฐมวัยไม่สามารถเตรียมอาหารได้เอง ซึ่งผู้ปกครองมีอิทธิพลต่อการเลือกรับประทานอาหารของเด็กเป็นอย่างมาก เด็กจะรับประทานอาหารมากน้อยเพียงใด มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ เกิดจากพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ปกครอง ความคุ้นเคยเด็กเห็นตัวอย่างของคนในครอบครัว และมีผลทำให้เกิดพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็ก
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและจัดอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เด็กปฐมวัย

ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เด็กปฐมวัย

25.00 95.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าและมีภาวะโภชนาการที่ต้องเฝ้าระวังได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าและมีภาวะโภชนาการที่ต้องเฝ้าระวังได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

30.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กศพด.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม 1. ขั้นเตรียมงาน
- ประชุมครูผู้ดูแลเด็ก เพื่อวางแผนรูปแบบกิจกรรม - ประสานเจ้าหน้าที่วิทยากร
- จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในโครงการ
2. ขั้นตอนดำเนินงาน
- กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
3. สาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
4. ขั้นสรุปผล - สรุปผลการดำเนินงาน
กำหนดการ
- 13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน
- 13.30 - 15.30 น. อบรมให้ความรู้โภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย พร้อมสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 2 ชม. = 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คน = 1,200 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1,200 บาท
- ค่าจัดซื้อวัตถุดิบในการสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย 2,500 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปากกา สมุด เอกสารการอบรมฯลฯ จำนวน 500 บาท
หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2567 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและจัดอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เด็กปฐมวัย
  • ผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าและมีภาวะโภชนาการที่ต้องเฝ้าระวังได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและจัดอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เด็กปฐมวัย
2.ผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าและมีภาวะโภชนาการที่ต้องเฝ้าระวังได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


>