กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนนำร่องในการจัดการชุมชนปลอดบุหรี่ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางพนิดา วรรณวงศ์และทีมงานจิตเวช 066-0940694

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายเสื่อมลง และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคความดัน และโรคมะเร็งต่างๆ เป็นต้น นอกจากมีผลกระทบต่อตัวผู้สูบแล้ว ยังมีผลกระทบกับบุคคลใกล้ชิด บุคคลในชุมชนและสังคมด้วย ซึ่่งเรียกว่า ผลกระจากควันบุหรี่มือสอง การสุบบุหรี่ยังเป็นสารตั้งต้นของการใช้สารเสพติดตัวอื่นอีกมากมายซึ่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
จากสถิติการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2564-2566 พบว่าในปี 2564 มีผู้เข้ารับบำบัดทั้งสิ้น 91 คน สามารถเลิกบุหรี่ได้ 6 เดือน จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 59.3 ในปี 2565 มีผู้เข้ารับบำบัดทั้งสิ้น 94 คน สามารถเลิกบุหรี่ได้ 6 เดือน จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 61.70 ในปี 2566 มีผู้เข้ารับบำบัดทั้งสิ้น 102 คน สามารถเลิกบุหรี่ได้ 6 เดือน จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 47.09 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่และมีโรคเรื้อรัง
กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวชโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัด โครงการชุมชนนำร่องในการจัดการชุมชนปลอดบุหรี่ ปี 2567นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำชุมชนและเยาวชนทราบถึงโทษและพิษภัยบุหรี่และพรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535

แกนนำชุมชนและเยาวชนทราบถึงโทษและพิษภัยบุหรี่และพรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

50.00 70.00
2 เพื่อให้แกนนำชุมชนและเยาวชนสามารถค้นหา ชักจูง ช่วยเหลือและส่งต่อ ผู้สูบบุหรี่ได้

ผู้สูบบุหรี่ที่ได้รับการส่งต่อและสามารถเลิกบุหรี่ได้ มากกว่าร้อยละ 20

10.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำชุมชนและเยาวชน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนนำร่องในการจัดการชุมชนปลอดบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนนำร่องในการจัดการชุมชนปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนและเยาวชน จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
- ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ขั้นดำเนินการ
- ให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการชุมชนนำร่องในการจัดการชุมชนปลอดบุหรี่
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิด
09.00 - 10.00 น. บรรยายหัวข้อเรื่องพรบ.บุหรี่ พ.ศ. 2535
10.00 - 11.00 น. บรรยายหัวข้อเรื่อง โทษมหันตภัยบุหรี่
11.00 - 12.00 น. บรรยายหัวข้อ เรื่องการประเมินคัดกรองสูบบุหรี่
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. บรรยายหัวข้อ แนวทางการช่วยเหลือ ส่งต่อ ผู้สูบบุหรี่
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท/มื้อ X 50 คน X 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน X 30 บาท/มื้อ X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท/ชม. X 6 ชม.เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ กระดาษ สมุด ปากกา แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำชุมชนและเยาวชนสามารถนำร่องเป็นชุมชนปลอดบุหรี่ตามพรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สููบบุหรี่ พ.ศ.2535
  • แกนนำชุมชนและเยาวชนมีแนวทางคัดกรอง ช่วยเหลือ ส่งต่อ ผู้สูบบุหรี่ในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,800.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวทุกรายการและจำนวนคนภายในวงเงินที่ได้รับ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำชุมชนและเยาวชนสามารถนำร่องเป็นชุมชนปลอดบุหรี่ตามพรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สููบบุหรี่ พ.ศ.2535
2. แกนนำชุมชนและเยาวชนมีแนวทางคัดกรอง ช่วยเหลือ ส่งต่อ ผู้สูบบุหรี่ในชุมชน


>