กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุคนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลประจัน ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการประจำตำบลประจัน

1นายแวอูเซ็ง กาโฮง
2นางแวนูรีตา บูงอ
3.นางสาวนิตยาหลีหมัน
4.นายมะรูดิง ยาโงะ
5.นางสาวอามีซะห์มะแอ

เขตพื้นที่ ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปี 2565 ประเทศไทก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20 % ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2575 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society) มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปเกินกว่า ๒๐ % ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ ๓ % หรือ ๔ แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ ๑๓ ล้าน(ข้อมูลมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจสังคม จิตวิญญาณ
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการประจำตำบลประจัน ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทางเพื่อรองรับที่ประเทศไทยและประชากรในพื้นที่ตำบลประจัน เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและจัดเตรียมระบบดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาลที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว ซึ่งการเตรียมระบบดูแลในบ้าน จำเป็นต้องมีสำรวจและค้นหาและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเตรียมองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) มีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลางจำนวน 2 คนทำให้บุคลากรในการออกให้การพยาบาลไม่ทั่วถึง และในปี งบประมาณ 2565 ได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและทุกสิทธิทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) มีจำนวนไม่เพียงพอในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯตำบลเมาะมาวี จึงได้จัดให้มีการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) ตามหลักสูตรกรมอนามัย 70 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการประจำตำบลประจัน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุคนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลประจันประจำปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver)มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ
2. เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยกว่า ๑๑ คะแนน(คน)
3. เพื่อเพิ่มร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)
4. เพื่อเพิ่มร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/11/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุคนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลประจัน ประจำปี 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุคนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลประจัน ประจำปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชนิดกิจกรรม งบประมาณ    ระบุวัน/ช่วงเวลา 1.กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม     1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน  350 บาท               (รวม 350 บาท)     พฤศจิกายน
2566

2.กิจกรรมจัดอบรมผู้ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง(Caregiver)     1. ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 x 2.5 เป็นเงิน 900 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 12 มื้อๆละ 9 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,780 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของวิทยากรและคณะทำงานจำนวน 12 มื้อๆละ 5 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท 4. ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 6 มื้อๆละ 9 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,320 บาท 5. ค่าอาหารกลางวันของวิทยากรและคณะทำงานจำนวน 6 มื้อๆ ละ 5 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 6. ค่าเอกสารประกอบการอบรม 9 เล่มๆละ 100 บาทเป็นเงิน
900 บาท 7. ค่าตอบแทนวิทยากร(ภาคทฤษฎีและฝึกปฎิบัติในห้องเรียน) จำนวน 50 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 30,000 บาท     พฤศจิกายน –
ธันวาคม 2566


ชนิดกิจกรรม งบประมาณ    ระบุวัน/ช่วงเวลา     8.ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบจำนวน 9 ชุดๆละ120บาท เป็นเงิน1,080 บาท 9. ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 9 ใบๆละ 250 บาทเป็นเงิน   2,250 บาท 10. ค่าสมุดจดบันทึกจำนวน 9 เล่มๆละ 40 บาท เป็นเงิน 360 บาท 11. ค่าปากกาจดบันทึกจำนวน 9 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 90 บาท 12.ค่าเช่าห้องประชุม จำนวน 6 วันๆละ 1,300 บาทเป็นเงิน 7,800 บาท หมายเหตุ - ค่าใช้จ่ายที่ 1 , 3 , 5 , 7 และ 12 รวมเป็นเงิน 10,800 บาท บูรณาการร่วมกับศูนย์พัฒนาฯอีก 6 ตำบลเฉลี่ยเป็นเงินแห่งละ 7,200 บาท - ค่าใช้จ่ายที่ศูนย์พัฒนาฯตำบลประจัน ต้องรับผิดชอบ              เป็นเงิน 12,780 บาท (รวม 23,580.00 บาท)
๓.กิจกรรมติดตามประเมินผล     1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 19 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน  665 บาท               (รวม 665 บาท)  พฤศจิกายน 2566


รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,595.00 บาท (เงินสองหมื่นสี่พันห้าร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน) หมายเหตุ  สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงได้ มีการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงของตำบลได้รับการดูแลระยะยาว การมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมกันดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24595.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,595.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงของตำบลได้รับการดูแลระยะยาว การมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมกันดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ


>