กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการประชุมให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าเบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าเบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ทีมคร่อมสายงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางพรพิมล เผือกพันธ์ โทร 0873964797
2. นางทานตะวัน โชติพานิช

ห้องประชุมราชพฤษ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ โรคมะเร็งเป็นสาเหตุ การเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจํานวนเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนามัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จํานวน 18.1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะ

 

0.00

ปัจจุบันโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจํานวนเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนามัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จํานวน 18.1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.6 ล้านคนสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย ปี 2565 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติเผย แต่ละปีไทยจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 140,000 คน หรือประมาณ 400 คนต่อวัน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดีมะเร็งปอดมะเร็งเต้านมมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูกโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อำเภอสุไหงโกลกพบว่ามะเร็ง 5 อันดับแรกในปี 2566 ได้แก่ มะเร็งหลอดลมปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี พบร้อยละ 29.63 , 33.33 , 14.81 และ 11.11 ตามลำดับ จากผลการคัดกรองในปี 2566 อัตราการคัดกรองตามกลุ่มเป้าหมาย มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ คิดเป็นอัตราร้อยละ 74.66 , 8.46 และ 33.93 ตามลำดับ พบการคัดกรองไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นทางทีมคร่อมสายงานศัลยกรรมโรงพยาบาลสุไหงโกลก ได้เล็งเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราอุบัติการณ์รายใหม่ได้ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งและตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยมีเป้าหมายให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ไปค้นหากลุ่มเป้าหมายในชุมชน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงยอมรับการคัดกรองและยอมรับการรักษาตามกระบวนการ
โรคเบาหวานเป็นหนึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รุนแรงที่สุดในโลกและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติในปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี มีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.3 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 16,388 ราย คิดเป็นอัตราตาย 25.1 ต่อแสนประชากรในจังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ในระบบทะเบียนจำนวน 27,740 ราย ในอำเภอสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 2,673 ราย ในเขตตำบลสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1,423 ราย ในปี 2566 ผู้ป่วยที่ตัดเท้าจากเบาหวาน มีจำนวน 20 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 0.76จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ถูกต้องและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละบุุคคล เช่น ผู้ป่วยผิดนัด รับประทานยาไม่ถูกต้องรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ หยุดยาเอง ไม่ควบคุมอาหาร ไม่ออกกำลังกายดังนั้น ทางทีมคร่อมสายงานศัลยกรรมโรงพยาบาลสุไหงโกลก ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของปัญหาเหล่านี้ จึงได้จัดโครงการให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อให้สามารถกลับไปดูแลและให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งต่างๆเพิ่มขึ้น

ผู้รับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งและกลุ่มเป้าหมายของการคัดกรอง มากกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มขึ้น

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มขึ้น
- อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นอย่างร้อยละ 60 จากกลุ่มเป้าหมาย - อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างร้อยละ 80 จากกลุ่มเป้าหมาย - อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นอย่างร้อยละ 70 จากกลุ่มเป้าหมาย

30.00 60.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถดูแลผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวานที่เท้าในชุมชนได้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถดูแลผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวานที่เท้าในชุมชนได้
อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ตัดเท้า น้อยกว่าร้อยละ 1 จากจำนวนประชากรผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และคัดกรองมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และคัดกรองมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม.จำนวน 90 คนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 30 คน รวม 120 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
2. แจกชุดทดสอบ (Fittest)
3. ให้ อสม. ลงชุมชนเพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่่ยงในเขตพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ
4. นำชุดทดสอบส่งโรงพยาบาล
5. แจ้งผลการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
กำหนดการ
เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 - 11.00 น. บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยวิทยากรแพทย์ศัลยกรรม
เวลา 11.00- 12.00 น.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถาม-ตอบ
เวลา 13.00 - 15.00 น. บรรยายให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก โดยวิทยากร พยาบาลวิชาชีพ คลินิคสูตินรีเวช
เวลา 15.00 - 16.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแจกชุดทดสอบ (Fittest)
เวลา 16.30 น. ปิดโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท X 120 คน X 2 มื้อ = 7,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท X 120 คน = 7,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน X 600 บาท X 2 ชม. = 2,400 บาท
- ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน 90 คน X 50 บาท X 2 ชม. = 9,000บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์กระเป๋าผ้าใส่ชุดตรวจ 40 บาท X 90 ใบ = 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นในการอบรม ได้แก่ กระดาษ ปากกา สมุด เป็นต้น 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องมะเร็งต่างๆ สามารคัดกรองเบื้องต้นแก่คนในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,400.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายหาร

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งต่างๆเพิ่มขึ้น
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มขึ้น
3. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถดูแลผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวานที่เท้าในชุมชนได้


>