กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หนูน้อยวัยใส ใส่ใจขยะ โรงเรียนบ้านกูแบสาลอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงเรียนบ้านกูแบสาลอ

โรงเรียนบ้านกูแบสาลอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (ร้อยละ)

 

60.00
2 นักเรียนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ร้อยละ)

 

60.00

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข โดยเฉพาะขยะที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงเรียนก็เจอกับปัญหาขยะ ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่สะอาด และอาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง และเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคทางผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร ทางการหายใจ จากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง สาเหตุและที่มาของขยะ เกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของ การใช้สิ่งของของนักเรียน เช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมาก สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในการปูพื้นฐาน และปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกมีจิตสาธารณะรักและหวงแหนธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของตนเองรู้จักการคัดแยกขยะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อชุมชนเพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินงานโครงการปลอดขยะ (Zero Waste School) เพื่อเผยแพร่แก่โรงเรียนและชุมชนให้เกิดโรงเรียนและชุมชนปลอดขยะ โรงเรียนบ้านกูแบสาลอได้ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษาที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียนเพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริง และขยายผลต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิลต่อไป
โรงเรียนบ้านกูแบสาลอ เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาความสะอาด จึงดำเนินโครงการหนูน้อย วัยใส ใส่ใจขยะโรงเรียนบ้านกูแบสาลอ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการคัดแยกและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

นักเรียนร้อยละ 60 มีความรู้ความสามารถคัดแยกขยะและสามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (ร้อยละ)

60.00 100.00
2 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นักเรียนร้อยละ 60 มีจิตสำนึกที่ดีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ร้อยละ)

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 131
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่อง “การคัดแยกขยะ”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่อง “การคัดแยกขยะ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่อง “การคัดแยกขยะ”มีหัวข้อดังนี้ 1. สถานการณ์การเกิดขยะในประเทศไทย 2. ชนิด ประเภท และการคัดแยกขยะ 3. ความสำคัญของการคัดแยกขยะ 4. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในการจัดการขยะไม่เหมาะสม

งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวม 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมนักเรียน จำนวน 131คน X 25 บาท X 2 มื้อ รวม 6,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผลลัพธ์ (Outcome)นักเรียนตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมจัดป้ายนิเทศให้ความรู้ 2. กิจกรรมคัดแยกขยะในโรงเรียน 3. กิจกรรมผลิตสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ 4. กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้
5. กิจกรรมลดขยะอินทรีย์ 6. กิจกรรมปลูกผักสวนครัว 7. กิจกรรมธนาคารขยะ งบประมาณ
ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1. สีเมจิก 12 สี จำนวน 28 ชุด ชุดละ 85 บาท รวม 2,380 บาท 2. กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 14 แผ่นๆ ละ 15 บาท รวม 210 บาท 3. ฟิวเจอร์บอร์ด 65 ซม. X 122 ซม. จำนวน 4 แผ่น แผ่นละ 85 บาท รวม 340 บาท 4. กระดาษการ์ดสี A4คละสี 1 แพ็ค รวม 100 บาท 5. กาวลาเท็กซ์ จำนวน 12 ขวด ขวดละ 30 บาท รวม 360 บาท 6. เยื่อกาว 2 หน้าบาง จำนวน 4 ม้วน ม้วนละ 40 บาท รวม 160 บาท 7. กระดาษ A4 จำนวน 3 รีมๆ ละ 145 บาทรวม 435 บาท 8. ถังขยะ แบบแยกประเภท จำนวน 4 ถัง ถังละ 900 บาทรวม 3,600 บาท 9. กระดาษชาร์ทสี (คละสี) จำนวน 12 แผ่นๆ ละ 10 บาท รวม 120 บาท 10. กรรไกรจำนวน 12 ด้ามๆ ละ 65 บาท รวม 780 บาท 11.ป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 X 2 เมตร (ตารางเมตรละ 250 บาท) เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผลลัพธ์ (Outcome)นักเรียนตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9235.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,585.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากโครงการโรงเรียนปลอดขยะไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนมีจิตสำนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


>