กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสานและกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน รวมถึงการสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินงานและบริหารจัดการเงินกองทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบกองทุนสุขภาพท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชน บุคลากรทางสาธารณสุขและบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมทบอีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นวิธีการอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่จะสร้างเสริมสุขภาพของคนให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงในด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา เพื่อให้การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

90.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ /การประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ /การประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
จัดการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ /การประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ /การประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ประจำปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม จัดการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1-4 , การประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1-4 , การประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2567 / งบประมาณ ค่าตอบแทนผู้เข้าประชุมฯ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าประชุม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การดำเนินงานบริหารและจัดการกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66180.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
การจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1) เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สำหรับงานสำนักงาน จำนวน 1 เครื่อง (ตามมาตรฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์) เป็นเงิน 19,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดซื้อวัสดุสำนักงานสำหรับใช้ในการดำเนินงานกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุสำนักงานสำหรับใช้ในการดำเนินงานกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาเคมี ปากกาลูกลื่น กระดาษคลิปชาต เทปกาว หมึกเครื่องพิมพ์ ถ่ายเอกสารเข้าเล่ม และอื่นๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 97,180.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2. ผู้ขอรับทุนสามารถเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ได้
3. คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 90


>