กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการจัดการตนเองแบบ Home Center ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita รุ่นที่ 2 ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการตนเองแบบ Home Center ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita รุ่นที่ 2 ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางสาวอาซูราเบ็ญจุฬามาศ
นางวัลวิลาชูโชติวัฒนากูล
นางกันยา อนงค์ชัย

โรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ( Non-communication diseases, NCDs ) ที่พบบ่อยและเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศทั่วโลก สมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติกล่าวว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 537 ล้านคน มากกว่า 90% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คาดว่าภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง 783 ล้านคน ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวาน ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง 200 คน หรือประมาณชั่วโมงละ 8 คน (ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข) โรคเบาหวานส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางตา โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ โรคไตวาย โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และการถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตถึงร้อยละ 65 โรคเบาหวานส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าคน ปกติ 2 เท่า ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานเกิดจากการมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน รอบเอวเกิน เป็นโรคความดันโลหิตสูง ชอบรับประทานอาหารรสหวาน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อีกทั้งการรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่อง และไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยังส่งผลกระทบทางด้านสังคม ทำให้สูญเสียความสามารถในการทำงาน รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม คุณภาพชีวิตแย่ลง เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ส่งผลกระทบต่อ ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ปี 2564-2566 จํานวน 2,660 คน 2,625 คน และ 2,673 คน ตามลําดับ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2566 มีผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้สูงถึงร้อยละ 56.05 ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 มีผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน จำนวน 1,412 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,382 ราย และมารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจจำนวน 200 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีโอกาสให้โรคเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบเกิดประสิทธิผลที่ดี และเกิดความพึงพอใจ ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน ร่วมกับ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจใกล้ใจ 2 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการตนเองแบบ Home Center ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita รุ่น 2 ประจำปี 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค อาการแสดง การปฏิบัติตัวและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้ร้อยละ 80

40.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ ลดลง ≥ 10% in1 year ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

40.00 80.00

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ( Non-communication diseases, NCDs ) ที่พบบ่อยและเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศทั่วโลก สมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติกล่าวว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 537 ล้านคน มากกว่า 90% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คาดว่าภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง 783 ล้านคน ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวาน ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง 200 คน หรือประมาณชั่วโมงละ 8 คน (ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข) โรคเบาหวานส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และการถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตถึงร้อยละ 65 โรคเบาหวานส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าคน ปกติ 2 เท่า ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานเกิดจากการมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน รอบเอวเกิน เป็นโรคความดันโลหิตสูง ชอบรับประทานอาหารรสหวาน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อีกทั้งการรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่อง และไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยังส่งผลกระทบทางด้านสังคม ทำให้สูญเสียความสามารถในการทำงาน รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม คุณภาพชีวิตแย่ลง เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ส่งผลกระทบต่อ ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ปี 2564-2566 จํานวน 2,660 คน 2,625 คน และ 2,673 คน ตามลําดับ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2566 มีผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้สูงถึงร้อยละ 56.05 ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 มีผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน จำนวน 1,412 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,382 ราย และมารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจจำนวน 200 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีโอกาสให้โรคเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบเกิดประสิทธิผลที่ดี และเกิดความพึงพอใจ ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน ร่วมกับ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจใกล้ใจ 2 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการตนเองแบบ Home Center ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita รุ่น 2 ประจำปี 2567

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
2. ประสานทีมงานผู้เกี่ยวข้องสหสาขาวิชาชีพ
3. ประชุมแต่งตั้งคณะกรมการโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก
4. คัดเลือกผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (น้ำตาลสะสม มากกว่า 6.5%)
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ x 30 บาท x 20 คน = 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 Kolok Healthy Low Sugar

ชื่อกิจกรรม
Kolok Healthy Low Sugar
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเบาหวาน 30 คน คณะทำงานและอสม. 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ลงทะเบียนเข้าโรงเรียนเบาหวานสุไหงโก-ลก Rumah Kita
2. เข้าเรียน Workshop 7 Module2 วัน
- Module 1 เรียนรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาการและอาการแสดง การป้องกันและภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์เวชศาตร์ครอบครัว
- Module 2 เรียนรู้เรื่องโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน/การเลือกอาหารที่เหมาะสมกับโรคโดยนักโภชนาการ
- Module 3 เรียนรู้เรื่องการใช้การยาเบาหวาน และการใช้ยา Insulin ที่ถูกต้อง โดยเภสัชกร
- Module 4 เรียนรู้การบริหารเท้าและดูแลเท้าด้วยตนเองโดยแพทย์แผนไทย
- Module 5 การติดตามน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG) โดยพยาบาลวิชาชีพ
- Module 6 การออกกำลังกายที่เหมาะสมและกิจกรรมทางกาย โดยตัวแทนชมรมแอโรบิคสวนสิรินธร
- Module 7 เสริมพลังบวกแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
กำหนดการโครงการฯ Day 1
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรองสุขภาพ
09.00 - 09.30 น. พิธีเปิดโครงการฯ
09.30 - 10.00 น. ทำแบบสอบถาม Pretest
10.00 - 11.00 น. Workshop Module 1
11.00 - 12.00 น. Workshop Module 2
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 14.00 น. Workshop Module 3
14.00 - 15.00 น. Workshop Module 4
15.00 - 16.00 น. ถอดบทเรียน Workshop Module 1-4
กำหนดการโครงการฯ Day 2
09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน
09.30 - 10.00 น. ออกกำลังกายแอโรบิคพร้อมกัน
10.00 - 11.00 น. Workshop Module 5
11.00 - 12.00 น. Workshop Module 6
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 14.00 น. Workshop Module 7
14.00 - 15.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ทีมอสม. เชี่ยวชาญโรคเบาหวาน
15.00 - 16.00 น. ถอดบทเรียน Workshop Module 5-7/ ทำแบบสอบถาม Posttest
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 30 บาท x 50 คน X 2 วัน = 6,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน X 2 วัน = 6,000 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 7 คน X 600 บาท X 1 ชม. = 4,200 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม ทีมอสม.เชี่ยวชาญโรคเบาหวาน 5 คน X 300 บาท =1,500 บาท
- ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ไวนิลโครงการ) = 1,200 บาท
- ค่าจัดทำป้ายสแตนดี้ประชาสัมพันธ์ 2 อัน X 1,000 บาท= 2,000 บาท
- ค่าจัดทำป้ายสแตนดี้ให้ความรู้ 2 อัน X 750 บาท =1,500 บาท
- ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต 1 เครื่อง = 3,500 บาท
- ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล 1 เครื่อง= 2,000 บาท
- ค่าจัดซื้อวงล้อความเสี่ยงคัดกรองเบาหวาน/ความดัน 1 อัน= 3,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์การเรียน ได้แก่ กระเป๋าผ้า, แฟ้ม, สมุด, ปากกา 80 บาท x 30 ชุด = 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในเรื่องของโรคเบาหวานมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33300.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามตามติดแบบ Home center

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตามติดแบบ Home center
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเบาหวาน 30 คน คณะทำงานและอสม. 20 คน รวม 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเมื่อครบ 3 เดือน - นัดผู้ป่วยพบแพทย์ฟังผลเลือด
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมดี คงไว้ให้ยั่งยืน และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการฯ
- สุ่มลงติดตามให้กำลังใจผู้ป่วยที่บ้านและการจัดการตนเองที่บ้าน จุ่มเค็ม ส่องหวาน
กำหนดการ
08.30 - 10.00 น. คัดกรองสุขภาพ/นัดผู้ป่วยพบแพทย์ฟังผลเลือด
10.00 - 11.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมดี คงไว้ให้ยั่งยืน
11.00 - 12.00 น. มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการฯ
13.00 - 16.00 น. สุ่มลงติดตามให้กำลังใจผู้ป่วยที่บ้านและการจัดการตนเองที่บ้าน จุ่มเค็ม ส่องหวาน
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน 20 คน x 50 บาท x 2 ชั่วโมง = 2,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 30 บาท x 50 คน = 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน = 3,000 บาท
- ค่าวัสดุใบเกียรติบัตร 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมดี คงไว้ให้ยั่งยืนและติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,100.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
2. ผู้ป่วยเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้
3. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้


>