กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ประจำปี 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
งานแพทย์แผนไทย ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
กลุ่มคน
นางสาวนูรุฮูดา มะเด็ง
3.
หลักการและเหตุผล

สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ปี 2553-2583 ของสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยใช้ข้อมูลสํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 ของสํานักงานสถิติแห่งชาติเป็นฐานในการประมาณ พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 20.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของจํานวนประชากรไทยทั้งหมด แต่จะมีประชากรวัยแรงงาน เพียง 35.18 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ที่มีประชากรวัยแรงงานจํานวน 42.74 ล้านคน หรือลดลง 7.6 ล้านคน สถานการณ์เหล่านี้นำมาสู่ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม ในด้านสุขภาพพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ หรือต้องมีคนดูแล จนกลายเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงได้ นอกจากนี้ภาพรวมการออมของประชากรวัยแรงงานมีเพียง15ล้านคน ที่อยู่ในระบบการออมเพื่อการเกษียน แต่เงินออมเฉลี่ยที่มีก็อาจจะไม่เพียงพอกับเงินหลังเกษียณขั้นต่ำที่จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม เพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในทุกมิติและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ด้งนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงดำเนินการให้สหวิชาชีพได้เข้ามา มีส่วนร่วมในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาติดบ้าน ติดเตียงกันเพิ่มมากขึ้น แพทย์แผนไทยเป็นหนึ่งกลุ่มสหวิชาชีพ ที่เข้ามามีส่วนร่วมต่อการดูแลผู้สูงอายุ ในกรณีการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ โดยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ได้แก่ การรักษาด้วยยาสมุนไพร การนวดบำบัดรักษาโรค รวมทั้งท่ากายบริหารฤาษีดัดตน เป็นต้น ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2 เป็นอีกหนึ่งสถานพยาบาลที่แพทย์แผนไทยได้เข้ามา แต่เนื่องจากผู้ป่วยทั้งกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงได้เพิ่มขึ้น จึงทำให้การดูแลเป็นไปอย่างล่าช้า และอาจจะส่งผลต่อการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ ดังนั้น ทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2 จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้เป็นแกนนำในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยในพื้นที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2 อีกทั้งเพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลอย่างทั่งถึงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ตามแนวทางการแพทย์แผนไทย
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สามารถนำไปใช้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลตามแนวทางการรักษาทางแพทย์แผนไทยได้เพิ่มมากขึ้น
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลตามแนวทางการรักษาทางแพทย์แผนไทยได้เพิ่มมากขึ้น
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 70.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลผู้สูงอายุและประชาชนที่สนใจ 100 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. แบ่งผู้เข้าร่วมอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน โดยจัดกิจกรรมรุ่นละ 1 วัน
    2. ช่วงเช้าจัดอบรมให้ความรู้เรื่องหลักสมดุลธาตุเบื้องต้น ลักษณะและความสัมพันธ์ของธาตุทั้ง 4 ในร่างกายมนุษย์ , หลักสมดุลธาตุเบื้องต้น ลักษณะและความสัมพันธ์ของธาตุภายนอก ที่มีผลกับร่างกายมนุษย์ , หลักสมดุลธาตุเบื้องต้น ลักษณะธาตุที่ไม่ปกติในผู้สูงอายุ และวิธีการปรับสมดุล , การใช้สมุนไพรเบื้องต้น และการหลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่สบาย
    3. ช่วงบ่ายแบ่งกลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เรื่อง การนวดเบื้องต้น, การประคบสมุนไพร , การพอกยาและการแช่มือแช่เท้า และการยืดเหยียดเส้นหลังอย่างง่าย
    กำหนดการ
    08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
    09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องหลักสมดุลธาตุเบื้องต้น ลักษณะและความสัมพันธ์ของธาตุทั้ง 4 ในร่างกายมนุษย์ , หลักสมดุลธาตุเบื้องต้น ลักษณะและความสัมพันธ์ของธาตุภายนอก ที่มีผลกับร่างกายมนุษย์ , หลักสมดุลธาตุเบื้องต้น ลักษณะธาตุที่ไม่ปกติในผู้สูงอายุ และวิธีการปรับสมดุล , การใช้สมุนไพรเบื้องต้น และการหลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่สบาย
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
    13.00 - 16.00 น. ประชุมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เรื่อง การนวดเบื้องต้น, การประคบสมุนไพร , การพอกยาและการแช่มือแช่เท้า และการยืดเหยียดเส้นหลังอย่างง่าย
    งบประมาณ
    - ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. x 2 วัน = 3,600 บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท x 3 ชม. x 2 วัน = 1,800 บาท
    - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 100 คน = 6,000 บาท
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 100 คน x 2 มื้อ = 6,000 บาท
    - ค่าป้ายโครงการ = 1,200 บาท
    - ค่าจัดซื้อวงล้อตรวจธาตุเจ้าเรือน (ดิน น้ำ ลม ไฟ) = 1,490 บาท
    - ค่ายาสมุนไพรลูกประคบ 24 ลูก = 2,000 บาท
    - ค่าอุปกรณ์เสื่อสำหรับสาธิตการนวด 2 ผืน X 1,000 บาท = 2,000 บาท
    - ค่าน้ำมันนวดสำหรับสาธิต 500 บาท
    - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ปากกา ดินสอ ฯลฯ = 1,000 บาท
    - ค่ายาสมุนไพรพอก(สูตรร้อนและสูตรเย็น) 1,000 บาท

    งบประมาณ 26,590.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 100 คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 26,590.00 บาท

หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สามารถนำไปใช้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
  2. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลตามแนวทางการรักษาทางแพทย์แผนไทยได้เพิ่มมากขึ้น
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 26,590.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................